ยกเครื่องเรื่อง ‘สิทธิผู้สูงอายุไทย’

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ยกเครื่องเรื่อง 'สิทธิผู้สูงอายุไทย' thaihealth


สาเหตุหนึ่งของปัญหาที่พบใน ผู้สูงอายุป่วยแล้วไม่มีสิทธิเข้าถึงการรักษา เพราะส่วนหนึ่งครอบครัวไม่เข้าใจเพราะเป็นอาการของโรค


ดร.ภัทรพร คงบุญ ผู้จัดการชุดโครงการการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มสผส.) สะท้อนข้อมูลอย่างเห็นภาพว่า


"ทำไมแม่ต้องเปิดน้ำทิ้งตลอดเลย โตแล้วพูดไม่รู้เรื่องเหมือนเด็ก หรือ พ่อชอบทำบ้านเลอะเทอะบอกแล้วไม่ฟัง เหล่านี้ตัวอย่างอาการของโรคความจำเสื่อมเกิดกับผู้สูงวัยที่คนดูแลหรือลูกหลานไม่เข้าใจ บางครั้งใช้ไม้ตีก็มีด้วย เพราะสภาพกดดันลูกหลานกลับจากทำงานมาเหนื่อยๆ เมื่อมาเห็นสภาพแบบนี้ก็ใช้กำลัง คนแก่จะหวาดกลัวแต่จำไม่ได้ว่าไม่ให้เปิดน้ำทิ้ง"


พร้อมเสริมว่าการที่ผู้สูงอายุ เข้าไม่ถึงสิทธิโดยเฉพาะระบบสาธารณสุข ยังส่งผลต่ออาการของโรคจึงทรงตัว และแย่ลง นอกจากนี้ ดร.ภัทรพรยังหยิบยกผลการวิจัย โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ ของผู้สูงอายุที่ระบุว่าจากสถิติพบว่า ในปี 2548 มีผู้สูงอายุถูกหลอกจำนวน  70 ราย แต่ในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น  700 ราย และอันดับ 5 คือปัญหา ความรุนแรงทางเพศ โดยถูกล่วงละเมิดจากคนใกล้ชิดในครอบครัว


ซึ่งปัญหาละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุมากเป็นอันดับหนึ่งคือด้านจิตใจ เช่นพูดไม่ดี ทะเลาะ ทำให้เสียใจ บางครั้งผู้สูงอายุรู้สึกว่าลูกหลานไม่เข้าใจ ไม่มีเวลาให้ ไม่เป็นคนสำคัญในครอบครัว อันดับ 2 คือ การทอดทิ้งไม่ดูแล ซึ่งปัญหาผู้สูงอายุ พลัดหลง สูญหาย เร่ร่อน เป็นปัญหาอันดับ 1 อันดับ 3 ปัญหาผู้สูงอายุถูกเอาประโยชน์ในด้านทรัพย์สิน มีคนในครอบครัวถูกหลอกให้ทำธุรกรรม นอกจากยังโดนคนนอกครอบครัวถูกหลอกให้ซื้อสินค้า ที่ไม่มีคุณภาพ เช่นยาโรคเบาหวาน ความดัน และนี่คือเหตุผลที่ไทยจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่ผู้พิทักษ์คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ มาจากการที่ผู้สูงอายุจำนวนมากถูกละเมิดสิทธิ์ ผู้พิทักษ์คุ้มครองสิทธิฯ สามารถจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดในอนาคต


หนึ่งเสียงจากผู้สูงอายุที่รู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คุณตา อรุณ วรชุน วัย 88 ปี อดีตข้าราชการเกษียณ กรุงเทพมหานคร เล่าว่า เป็นผู้สูงอายุที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลที่ได้สิทธิของกรุงเทพฯ ไม่ได้รับความสะดวกเรื่องห้องน้ำ ที่ไม่มีสายชำระแต่ใช้กระดาษทิชชู่แทน แต่ผู้สูงอายุใช้ไม่ได้จะมีเลือดซึมออกมา จึงต้องใช้วิธีกดน้ำจากชักโครกหลายๆ รอบจนคิดว่าน้ำสะอาด แล้วใช้มือวักน้ำจากชักโครกมาชะล้าง รู้สึกว่าขยะแขยง ตัวเองมาก เมื่อออกจากห้องน้ำต้องมาล้างมือหลายๆ รอบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้รู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิ


ยกเครื่องเรื่อง 'สิทธิผู้สูงอายุไทย' thaihealth


ในด้านภาคนโยบายที่มีบทบาท ขับเคลื่อน พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300) พบปัญหาผู้สูงอายุขาดผู้ดูแล เพิ่มเป็น  10 เท่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวง จะมีมาตรการให้ความรู้เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุ ถูกหลอก และเน้นการส่งเสริมให้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับสภาพร่างกาย ส่วนกรณี ผู้พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุที่ไม่มีวันหมดอายุ  จะเข้าไปทบทวนเรื่องกฎระเบียบใหม่


ยกเครื่องเรื่อง 'สิทธิผู้สูงอายุไทย' thaihealth


ท้ายสุด ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.จะทำงานร่วมกับเครือข่าย สนับสนุนให้ชุมชนให้ส่งเสียงออกมาช่วยกันปกป้องคนในชุมชน และเรื่องปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ให้สังคมมีส่วนร่วมพิทักษ์สิทธิ์ ผู้สูงอายุในด้านต่างๆ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายเพื่อผู้สูงอายุเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ซึ่งความจริงสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ผู้สูงอายุแห่งชาติได้มีการระบุเรื่องการคุ้มครองใน พ.ร.บ. แต่ในการปฏิบัติยังไม่คืบหน้า จึงได้มีการเสนอเรื่องผู้พิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ ซึ่งความจริง คนทั่วไปสามารถเป็นผู้พิทักษ์สิทธิ์ ผู้สูงอายุได้ หากผู้สูงอายุยินยอม เป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สินในกรณีที่พบข้อจำกัดทางร่างหรือว่าสติปัญญาไม่สามารถตัดสินใจได้ดีเหมือนเดิมแล้ว อย่างไรก็ตามกระบวนการพิทักษ์สิทธิ์กำลังเสนอเรื่องรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม


สำหรับนิยามของผู้พิทักษ์คุ้มครองสิทธิฯ คือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถดำเนินกิจกรรมประจำวันได้ปรกติตามอัตภาพ คุ้มครองไม่ให้ถูกละเมิด หรือได้รับประโยชน์ตามสิทธิที่ควรได้ ทั้งสิทธิส่วนบุคคล การรักษาพยาบาล ดังนั้นเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่การให้สมาชิกครอบครัวทำหน้าที่นี้เป็น ลำดับแรก เพราะเชื่อว่าผู้สูงอายุ ต่างต้องการอยู่ร่วมกับครอบครัว  เพื่อใช้ชีวิตในช่วงท้ายอย่างมีความสุข

Shares:
QR Code :
QR Code