“มหิดล” สร้าง “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข”

นอกจากโรงงาน ภาคเอกชน ภาคราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว… ไม่น่าเชื่อว่าขณะนี้ “แฮปปี้ เวิร์กเพลส” ยังได้ขยายเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

เหตุเพราะสถาบันอุดมศึกษาเริ่มเล็งเห็นแล้วว่า ภาระงานอันหนักหน่วงทั้งการผลิตทรัพยากรบุคคลอันมีค่าเพื่อช่วยพัฒนาประเทศการทำวิจัย การให้บริการด้านวิชาการ เกณฑ์การประเมินที่มีตัวชี้วัดมาก การบริหารงานภายในบทบาทการพัฒนาสถาบัน การนำมหาวิทยาลัยไปสู่อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีในโลก กระทั่งการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม และอื่นๆ อีกมากมาย อาจทำให้คนทำงานมีความสุขลดลงอย่างที่ไม่ควรจะเป็น

และเพื่อให้ “ผลลัพธ์” ที่ออกมามีคุณภาพเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขของคนทำงานอย่างแท้จริง “มหาวิทยาลัยมหิดล” จึงปฏิวัติตัวเองเสียใหม่เพื่อไปสู่จุดหมาย “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” ในปี 2559 พร้อมจับมืออีก 7 มหาวิทยาลัยทั่วที่ทางมหาวิทยาลัยมี หนทางสู้เส้นชัยมหาวิทยาลัยแห่งความสุขก็เริ่มขับเคลื่อน โดยการเขยื้อนนี้ เป็นการพัฒนาอย่างมีเป้าหมาย หวังให้ปี 2559 มหิดลจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุข 4 ด้าน คือ คนทำงานมีความสุข ครอบครัวของคนทำงานประเทศ แท็กทีมทำบันทึกความเข้าใจ หรือ mou เตรียมเป็นแกนนำมหาวิทยาลัยแห่งความสุข เผยแพร่องค์ความรู้มหาวิทยาลัยแห่งความสุข ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาที่สนใจ

รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต หัวหน้าโครงการแฮปปิโนมิเตอร์ (happinometer) หนึ่งในเครื่องมือสร้างสุขของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากมหิดล เผยว่าหลังจากมหาวิทยาลัยคิดทบทวนจนเกิดเป็นความตระหนักว่า การทำงานถ้าทำด้วยความสุข ความสำเร็จย่อมตามมา ที่สำคัญหาคนทำงานไม่สุขแล้ว ปัญหาย่อมเกิดขึ้นแน่นอน

เมื่อคิดได้ดังนั้น และผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับการนำเอาหลักแฮปปี้ เวิร์กเพลส และแฮปปี้ 8 เข้ามาประยุกต์สร้างสุขร่วมกับวิธีการมีความสุข องค์กรเป็นสุข และสังคมรอบข้างก็เป็นสุข ทั้งนี้ เพราะความสุขนำมาซึ่งประสิทธิภาพประสิทธิผลหลายๆ ด้าน

“เรามีความเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ การวัดความสุขในมหาวิทยาลัยจะมีบทบาทในการจัดมหาวิทยาลัยอันดับโลกด้วย” รศ.ดร.ศิรินันท์ ระบุ

อย่างไรก็แล้วแต่ ความคิดอยากให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งความสุข หัวหน้าโครงการแฮปปิโนมิเตอร์ บอกว่าจะมากล่าวกันลอยๆ แล้วลงมือทำนั้นไม่ได้ แต่ต้องทำเป็นสเต็ปและได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถาบันที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จากนั้นต้องกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์แบบปีต่อปี มีเป้าหมายความสุขที่จะไปถึง อีกทั้งต้องมีการดำเนินการชี้วัดทั้งก่อนและหลัง พร้อมถอดบทเรียนกิจกรรมที่ทำไว้เป็นความรู้

“สำหรับมหิดลเราวางแผนยุทธศาสตร์ไว้ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2556-2559 ซึ่งเมื่อถึงสิ้นปีงบประมาณในปีสุดท้ายหรือ 2560 คะแนนเฉลี่ยความสุขขององค์กรจะต้องได้ 7 ใน 10 โดยปัจจุบัน กับการใช้แฮปปิโนมิเตอร์วัด เราได้คะแนนอยู่ที่ 6.1” รศ.ดร.ศิรินันท์ แจงเพิ่ม

อีก 0.9 คะแนน ที่มหาวิทยาลัยมหิดลต้องไปให้ถึง ค่าของแฮปปิโนมิเตอร์ใน 9 ด้าน ได้แก่ 1.สุขภาพดี 2.ผ่อนคลายดี 3.น้ำใจดี 4.จิตวิญญาณดี 5.ครอบครัวดี 6.สังคมดี 7.ใฝ่รู้ดี 8.สุขภาพเงินดี และ 9.การงานดี รวม 56 ตัวชี้วัด พบว่าสิ่งที่มหิดลต้องปรับปรุงเพื่อให้ค่าของความสุขเพิ่มขึ้นนั้น เป็นในด้าน “ผ่อนคลายดีและสุขภาพเงินดี” ที่ยังได้คะแนนเฉลี่ย “ค่อนข้างต่ำ”

รศ.ดร.ศิรินันท์ กล่าวต่อถึงตัวอย่างที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมแก้ไขไว้ว่า ในเรื่องสุขภาพเงินดีทางสถาบันได้จัดเปิดตัวโครงการออมทรัพย์เพิ่มพูน สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท ซึ่งหาใครฝากเงินทุกเดือนต่อเนื่องไม่ถอน ทางมหาวิทยาลัยก็จะสมทบเงินให้อีก 1 เท่า

“เห็นมั้ยว่าหากมีการวัดค่าความสุข เราจะรู้ทันทีว่าองค์กรของเราอีกปัญหาด้านไหนอย่างไรและจริงๆ ไม่ต้องรอนักสร้างสุข แต่ถ้ามีกิจกรรมหรือโครงการใดที่ช่วยให้คนในองค์กรมีความสุขได้ก็ควรจะทำเลย เหมือนกับมหิดลที่ระลึกเสมอว่าความสุขในแบบมหิดลนั้น จะเน้นในคงให้องค์กรคิดเสมอว่าความสุขเป็นเรื่องของเรา ตัวเราคือคนที่สร้างความสุข”

ส่วนค่าแฮปปิโนมิเตอร์ที่มหิดลได้ค่าเฉลี่ยสูงเหมาะแก่การเป็นแบบอย่างแก่มหาวิทยาลัยอื่น คือเรื่องจิตวิญญาณดีและน้ำใจดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ หัวหน้าโครงการแฮปปิโนมิเตอร์ บอกชัดว่า ถือเป็นเรื่องดี เพราะค่าแห่งความสุขทั้งสองประการเป็นพื้นฐานที่ดี ที่ไม่ว่าจะพัฒนาอะไรเข้าไป ด้วยจิตสำนึกที่ดีเป็นทุนจะช่วยให้บุคลากรก้าวไปสู่การเป็นคนทำงานอย่างมีความสุขได้เร็ว ซึ่งหมายถึงองค์กรแห่งความสุขในอนาคตที่มหิดลคาดหวังไว้

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ