มหัศจรรย์โลกใบเล็กเมื่อศูนย์เด็กมีพื้นที่สร้างสรรค์
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
เมื่อโลกเล็กๆ ของเด็กไทยไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ไม่สำคัญอีกต่อไปการเปิดโอกาสให้เด็กวัยปีมีกิจกรรมในพื้นที่สร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในด้านต่างๆ เพราะการที่เด็กได้เล่นอย่างอิสระหัวใจความคิดของเขาก็จะมีความสร้างสรรค์กิจกรรมการเล่นของตัวเองจะทาให้เขาเติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบทุกด้านและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมในอนาคต
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสานักร่วมกับสานักส่งเสริมวิถีสุขภาวะสานักสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จึงได้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะของเด็กปฐมวัยในศูนย์ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการการติดตามเสริมศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจในพื้นที่รวมถึงการสนับสนุนทุนเพื่อการพัฒนาสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์ฯ ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในโครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีจจำนวนศูนย์และปีจำนวนศูนย์กระจายครอบคลุมทั้งภาคทั่วประเทศมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการเป็นเด็กคนครูคนโดยในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่จึงมีการจัดอบรมเพิ่มอีกจานวนศูนย์โดยมี ศพด. ต้นแบบศูนย์ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพจนเป็นพี่เลี้ยงและแหล่งเรียนรู้ของ ศพด.อื่นๆ
เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน กล่าวว่า หัวใจแรกของโครงการนี้คืออยากให้เกิดแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในตัวครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศเพื่อเปิดมิติใหม่และสร้างทัศนคติเปิดพื้นที่ให้เด็กออกมาเล่นคือการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เด็กได้ออกไปมีกิจกรรมแอคทีฟได้ออกกาลังกายพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ เพราะช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อและพัฒนาการของเราต้องได้รับการพัฒนาซึ่งยังส่งผลไปถึงการพัฒนาสติปัญญาสัมพันธ์กับการพัฒนาสมองและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
เข็มพร ขยายความต่อว่า แต่ก่อนเราอาจมองแค่พัฒนาการของเด็กเฉพาะกรอบการให้การศึกษาพยายามเลี้ยงให้เด็กอยู่แต่ในห้องให้กินนมอาบน้ำปะแป้งนอนทำให้เติบโต ในรูปแบบนี้กลายเป็นเด็กนิ่งๆ อยู่ในกรอบระเบียบขาดโอกาสเรียนรู้พัฒนาการขณะที่ภาครัฐก็เน้นการลงทุนให้กับเยาวชนในระดับมหาวิทยาลัยต่อหัวสูงมากกว่าการลงทุนเด็กเล็กทั้งที่เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการสำคัญของบุคลากรของประเทศตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น การสร้างแรงบันดาลใจให้ครูค้นพบศักยภาพของตัวเองและสามารถระดมทรัพยากรในชุมชนเรามองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหลายจุด
เธอบอกว่า ส่วนหนึ่งเพราะโครงการนี้จะเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันการได้เห็นตัวอย่างแนวคิดใหม่ๆ สร้างแรงกระตุ้นให้กับตัวครูแม้ว่าจะมีทรัพยากรหรือสนับสนุนงบประมาณน้อย ไม่ว่าจะมีพื้นที่น้อยแค่ไหนครูจะต้องออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการเล่นการเคลื่อนไหวร่างกายการออกกำลังกายของเด็กได้ โดยการเรียนรู้ระหว่างกันของกลุ่มครูจากการเกิดศูนย์ต้นแบบที่เป็นศูนย์พี่ศูนย์น้องเป็นเครือข่ายกันทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ และรู้จักนำทรัพยากรชุมชนมาช่วยพัฒนาโดยไม่ต้องรอภาครัฐเพียงอย่างเดียวชุมชนสามารถทำด้วยตัวเองได้
ที่ผ่านมา สสส. ให้การสนับสนุนโครงการและให้การสนับสนุนงบประมาณและสื่อต่างๆ ไปแล้วกว่าศูนย์แต่ต้องยอมรับความจริงว่าด้วยกำลังของ สสส. สามารถให้การสนับสนุนในงบประมาณจำกัดและอาจไม่ได้เยอะมาก ดังนั้นทางออกสำคัญที่เราอยากมุ่งเน้นคือการที่เขาได้มารับรู้แนวคิดใหม่ๆ ว่าเขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเด็กได้ผ่านกรอบแนวคิดดีคือสื่อดีพื้นที่ดีและภูมิดีสิ่งนี้จะเป็นแนวทางในการวางยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เราเห็นว่าเป็นการลงทุนแค่ไม่เท่าไหร่แต่ก็ให้ผลได้มากมาย
“การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากปีที่ผ่านมา คือคุณครูเห็นคุณค่าและภูมิใจในงานที่ทำ ขณะที่สถิติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กที่เล็กจากครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมโครงการมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น อาทิ ด้านวินัยและความรับผิดชอบ รู้จักถูกผิด เช่น เก็บของเล่น ไม่พูดปด ไม่ลักขโมย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละจากเดิมร้อยละ ด้านความฉลาดรู้ทางด้านสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย เช่น มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละจากเดิมร้อยละ และความสัมพันธ์ความรู้จักผูกพัน การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นมีทักษะในการสื่อสารอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละจากเดิมร้อยละ”เข็มพร เผย
เข็มพร เสริมว่า ไม่เพียงการเปลี่ยนแปลงในตัวครูสิ่งที่เห็นเปลี่ยนแปลงในตัวเด็กจากการดำเนินโครงการมา พบว่า เด็กแอคทีฟมากขึ้นเด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านร่างกายและความคิดกล้าแสดงออกที่เขากล้าตั้งคำถามและบอกความต้องการตัวเองได้ว่าเขาต้องการเล่นจับเขามาขังทำไมแม้แต่ผู้ปกครองบางรายเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะที่เคยพูดไม่ได้พูดไม่ชัดเริ่มเปลี่ยนไปจากการวัดพฤติกรรมเด็กที่ได้ออกไปเล่นข้างนอกไม่เพียงแข็งแรงขึ้นความสูงดีขึ้นน้าหนักดีขึ้นกินผักและดื่มนมได้มากขึ้นนอนหลับดีขึ้นสายใจคงทนกลุ่ม8FBSF)BQQZ
แกนหลักในการติดตามเสริมศักยภาพโครงการกล่าว พร้อมอธิบายต่อว่า เปาหมายสุดท้ายของการคิดสื่อเหล่านี้คือการเรียนรู้ร่วมกันของครูและเด็กและหลังๆเริ่มมีพ่อแม่ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมเข้ามาช่วยจัดกิจกรรมให้กับลูกหลานของตัวเองพัฒนาศูนย์ให้มีความพร้อมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและสิ่งสำคัญคือเด็กๆมีความสุขหรือสุขภาวะและได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการที่คุณครูจัดขึ้นในทุกวัน เราอยากให้เขามองว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรานี่แหละคือสื่อเรียนรู้ของเด็กบางคนใช้โรงละครกล่องกระดาษไม้อัดหรือใบไม้มาทาสื่อประดิษฐ์บ้างพัฒนาให้เด็กได้เล่นน้าอย่างง่ายการปลูกผักสังเกตการเจริญเติบโตหรือมีการใช้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประกอบ เธอย้ำว่าชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมให้ความสำคัญ สิ่งนี้เป็นประเด็นใหญ่เลยเพราะหากเขาไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเขาต้องดึงชุมชนเข้ามาสนับสนุนศูนย์ที่ไม่สามารถทาอะไรได้เพราะขาดการมีส่วนร่วมดังกล่าว
ด้านเข็มพร มองภาพอนาคตของแนวคิดดังกล่าวนี้ว่า ควรขับเคลื่อนไปสู่ภาคนโยบายรัฐต้องให้การลงทุนสนับสนุนด้านทรัพยากรมากขึ้นและองค์กรส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุน เพราะนี่คือการสร้างคนที่มีศักยภาพในท้องถิ่นและต้องให้กาลังใจเชิดชูครูเหล่านี้ว่ามีความสำคัญมากกว่านี้
"หัวใจแรก ของโครงการนี้ คืออยากให้เกิด แรงบันดาลใจ ที่นำไปสู่ การเปลี่ยนแปลง ในตัวครูศูนย์พัฒนา เด็กเล็กทั่วประเทศ เพื่อเปิดมิติใหม่ และสร้างทัศนคติ"