พลังคนรุ่นใหม่…เข้าถึงเข้าใจภัยพิบัติ

พลังคนรุ่นใหม่...เข้าถึงเข้าใจภัยพิบัติ thaihealth


เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเนปาลล่าสุด จนถึงเหตุน้ำท่วมใหญ่ในเมียนมา ล้วนเป็นภัยพิบัติที่สร้างความตระหนก ย้อนไปแม้คนไทยจะเผชิญปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 มาแล้ว แต่ท่ามกลางความวิกฤติได้ให้ประสบการณ์ และสร้างการเรียนรู้เพื่อการจัดการภัยพิบัติ


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนให้เกิดกลุ่มคนรุ่นใหม่ใจอาสาเพื่อผู้ประสบภัยขึ้น โชคชัย หลาบหนองแสง หัวหน้าโครงการ ชุมชน คนรุ่นใหม่ เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ เล่าว่า ตอนเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ตอนนั้นใช้สถานที่สวนโมกข์ จตุจักร เป็นศูนย์อำนวยการ โดยมีหลายหน่วยงานร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน  สสส. ท่าน ว.วชิร เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมในครั้งนั้น เริ่มแบบง่ายคือรับบริจาค คัดแยกของเพื่อส่งไปให้ผู้ประสบภัย  ทำอาหารส่ง และก่อนน้ำลดได้ย้ายศูนย์การช่วยเหลือไปยังจังหวัดปริมณฑล และ จ.สมุทรสาคร จ.นครราชสีมา และอ.หาดใหญ่ เป็นต้น


"มีปัญหาเช่นของ สดที่มีผู้บริจาคเข้ามา เสียหายส่งไม่ทัน จึงเปลี่ยนแนวคิดเป็นระดมวัตถุดิบในการทำอาหาร เพื่อแบ่งสรรในชุมชน แต่ทางศูนย์สนับสนุนเรื่องการตั้งโรงครัวขึ้นมาแทน หรือการใช้ศักยภาพของอาสาสมัครไม่ตรง เช่นให้สถาปนิกมากรอกข้าวสาร เป็นต้น" โชคชัยเล่า


การทำงานของกลุ่มคนรุ่นใหม่ใจอาสาเพื่อผู้ประสบภัย ยังได้ทำงานหลังน้ำลด เข้าไปสำรวจชุมชนเพื่อทำแผนฟื้นฟู ดังนั้นจึงมั่นใจว่าครั้งต่อไปเมื่อเกิดภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว กลุ่มอาสาสมัครคนรุ่นใหม่จะรับมือได้


โชคชัยบอกอีกว่า ดังนั้นในระหว่างนี้ จึงเป็นช่วงเวลาของการเติมศักยภาพของอาสาสมัคร ภายใต้ โครงการ ชุมชน คนพลังคนรุ่นใหม่...เข้าถึงเข้าใจภัยพิบัติ thaihealthรุ่นใหม่ เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ พลังของคนกลุ่มนี้ อันดับแรกเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ มีความสามารถด้านการใช้สื่อ มีความคิดสร้างสรรค์ มีคอน เนคชั่น ไม่ใช่กลุ่มเดิม ๆ ที่รัฐเคยใช้งาน อาทิ กลุ่ม อปพร.


"มองข้อดีอีกด้าน กลุ่มนี้มีความสามารถที่จะเข้าได้กับชุมชนทุกกลุ่ม เพราะเป็นนักศึกษาดังนั้นการขอความร่วมมือจะง่าย มีพลังที่จะทำอะไรได้เยอะ ไม่ติดกับกรอบเดิมๆ อย่างที่รัฐทำ เช่น การฝึกอบรม ตั้งคณะกรรมการ สนับสนุนงบประมาณซื้อเครื่องมือ กลุ่มนี้จะไม่ทำอย่างนั้น แต่จะลงไปในชุมชน สร้างกิจกรรมมาใช้ เช่น ทำเครื่องมือตรวจวัดปริมาณน้ำฝนเอง ทำแผนที่เดินดิน เพื่อเตรียมแผนอพยพ" ผู้รับทุน  สสส. กล่าวและว่า การทำงานของเด็ก ๆ ยังได้มีขบวนการเชื่อมกับหน่วยงานของรัฐ เช่น ให้กลุ่ม อปพร.มาสอนวิธีปฐมพยาบาล อบรมให้ความรู้สังเกตภัยพิบัติ ซึ่งกลุ่มนี้มีทักษะ


ล่าสุดกลุ่มคนรุ่นใหม่ใจอาสาเพื่อผู้ประสบภัย ได้จัดค่ายเพิ่มศักย ภาพของอาสาสมัครทั่วประเทศ 16 กลุ่ม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้


จีรพงศ์ ซาซง ครูโรงเรียนน้ำพร้าสามัคคี  ผู้นำกลุ่มน้ำพร้านางพญา อ.ท่าปลา  จ.อุตรดิตถ์ เล่าว่าในหลายอำเภอ ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็น อ.ท่าปลา อ.เมือง เคยเกิดเหตุดินถล่มในปี 2549 และปี 2544 ที่อ.ท่าปลา จึงมองว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะ อ.ท่าปลาลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบ  ซึ่งปัจจุบันยังมีร่องรอยของดินสไลด์ปรากฏให้เห็น รูปแบบของการรับมือภัยพิบัติที่นี่ได้เริ่มจุดประกายจากโรงเรียนน้ำพร้าสามัคคี ซึ่งมี นร.ทั้งหมด 331 คน เริ่มจากแกนนำ นร.อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ประสานกับชุมชน ให้ความรู้สำรวจพื้นที่ และความต้องการของชาวบ้าน รวมทั้งทำแผนที่เดินดิน ทำกิจกรรมร่วมกันในเชิงป้องกัน คือการทำฝายชะลอน้ำ กิจกรรมบวชป่ามีทั้งผู้ใหญ่บ้าน นร.และชาวบ้านมาร่วมกัน


"เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา เราใช้โรงเรียนเป็นศูนย์พักพิง ขณะนี้เรากำลังทำคู่มือรับมือภัยให้กับชาวบ้าน"


กลุ่มเยาวชนนกกระจอก ที่เกิดจากการรวมตัวของนร. ชั้นม.5-ม.6 รร.ฆังคะทวีศิลป์ ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช  ได้ตระหนักว่าในพื้นที่ที่เขาอยู่เกิดภัยพิบัติบ่อย "นิก" นครินทร์ มากชุม  ตัวแทนกลุ่ม บอกถึงเหตุผลของการตั้งกลุ่มขึ้นมา อยากหาวิธีการตั้งรับเหตุการณ์น้ำท่วม ดินถล่ม เพราะเห็นภาพประจำว่าชาวบ้านเมื่อมีภัยมาก็แค่ขนของหนีน้ำ นร.และอาจารย์ในโรงเรียนจึงเริ่มตั้งกลุ่มแกนนำอาสาสมัครขึ้นมาในโรงเรียนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติ จากนั้นลงพื้นที่สอบถามความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ชาวบ้านต้องการอาสาสมัครพลังคนรุ่นใหม่...เข้าถึงเข้าใจภัยพิบัติ thaihealthซ่อมบ้าน เพราะบ้านไม่ได้พังทั้งหลัง


"ในความคิดของผมชาวบ้านมองว่าแผนภัยพิบัติยังไม่ชัดเจน เกิดภัยพิบัติไม่รู้จะอพยพไปตรงไหน  แต่รู้สึกว่าชาวบ้านยังพูดความจริงออกมาไม่หมด อาจจะเห็นว่าเราเป็นเด็ก" ตัวแทนกลุ่มเยาวชนสะท้อนอุปสรรคการทำงาน แต่ก็มองว่าคือความท้าทายด้านการทำงานด้านจิตอาสา แต่สิ่งหนึ่งที่ได้จากการรวมกลุ่ม ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของกลุ่มเยาวชนในท้องที่ ที่ผ่านมากิจกรรมของชุมชนไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า งานสร้างศาลาประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านก็ให้กลุ่มเยาวชนนกกระจอกไปมีส่วนร่วม


"สิ่งที่เราทำคิดว่าเดินมาถูกทางแล้วว่ามีเพื่อนในโรงเรียนยินดีที่จะทำงานจิตอาสา ซึ่งขณะนี้สมาชิกของเรามีอยู่ 50 คน และขณะนี้กำลังมีโรงเรียนมาดูงานของเรา" ตัวแทนกลุ่มเยาวชนนกกระจอก บอกถึงความสำเร็จ


พลังเยาวชนรุ่นใหม่กับงานจิตอาสาเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ สสส.ให้การสนับสนุน เปิดมิติการทำงานชุมชน ฉีกกรอบระบบการทำงานแบบเดิม ๆ แบบราชการ.


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจาก https://www.gotoknow.org/posts/593663

Shares:
QR Code :
QR Code