พฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย

 

          เอแบคโพลล์พบเอดส์ยังเป็นโรคที่น่ากลัว สังคมต่อต้าน พบประชาชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงจากสัมพันธ์ในที่ทำงาน-เครือข่ายออนไลน์ แนะเฝ้าระวังสถานการณ์โรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง

 

          นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมเสี่ยงของคนเมืองและการยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มปี 2548 กับปี 2553 ในกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จำนวน 1,269 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 20-27 พ.ย. 2553 ผลการศึกษาพบว่า คนที่เข้าใจว่าการรับเลือดจากผู้ป่วยเอดส์จะทำให้ติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 98.3 สัดส่วนของคนที่เข้าใจว่าการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ป่วยเอดส์จะทำให้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 51.1 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 97.5

 พฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย

 

ที่น่าสนใจคือ ประชาชนมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นสามีภรรยาลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 71.5 มาอยู่ที่ ร้อยละ 68.5 ในขณะที่กลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์แบบแฟน หรือคู่รัก เพิ่มขึ้นเจากร้อยละ 30.8 เป็นร้อยละ 34.1 ที่น่าจับตามองคือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ขายบริการทางเพศลดลงจาก 3.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 และ การมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานกับเจ้านาย ลูกน้อง คนที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวคือจากร้อยละ 2.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 4 ตามลำดับ

พฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย 

นายนพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อเอดส์ พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 62.8 เป็นร้อยละ 83.2 ในปี 2553 ครั้งล่าสุด

พฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย

และผลสำรวจยังพบด้วยว่า สัดส่วนของคนที่ระบุมีคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 11.4 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.1 ในปี 2553 โดยในกลุ่มที่มีคนใกล้ชิดติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 43.8 ระบุเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก ร้อยละ 29.6 ระบุเป็นเพื่อนบ้าน ร้อยละ 22.2 ระบุญาติพี่น้องที่พักอาศัยต่างบ้านกัน รองๆ ลงไปคือ เพื่อนร่วมงาน ญาติในบ้านเดียวกัน และอื่น ๆ คือ สามี ภรรยา แฟน และคนรัก เป็นต้น

 

พฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย 

ส่วนใหญ่ของผู้ถูกศึกษาหรือร้อยละ 67.4 ในปี 2548 และร้อยละ 56.7 ในปี 2553 ยังคงรู้สึกว่า โรคเอดส์เป็นเรื่องน่ากลัว และถ้าคนที่ตนเองรักติดเชื้อโรคเอดส์ พบว่า สัดส่วนของคนที่ยอมรับได้ลดลงจากร้อยละ 66.7ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 40.4 ในปี 2553 และสัดส่วนของคนที่ยอมรับไม่ได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.9 ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 30.0 ในปี 2553

 

พฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย 

          ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าว่า สำหรับแนวทางป้องกันส่ร้อยละ 67.7 เห็นควรให้ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ รองลงมาไม่เปลี่ยนคู่นอน ส่วนข้อเสนอแนะนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเห็นควรให้เฝ้าระวังสถานการณ์โรคเอดส์ในสถานที่ทำงาน เพราะมีแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ของ คนทำงานและ ในเครือข่าย อินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพราะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของคนที่มีเพศสัมพันธ์กันเกือบเท่าตัว จึงเห็นควรให้มีการเร่งรณรงค์ในสถานที่ทำงานทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมทั้งผลักดันให้สังคมเกิดการยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ ทั้งในที่ทำงาน สถานประกอบการต่าง ๆ ชุมชนหนาแน่น และโลกออนไลน์

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ

 

 

Update:29-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่

Shares:
QR Code :
QR Code