พบรักษาไมเกรนด้วยคลื่นแม่เหล็กได้ผลดี

เผยไม่ต้องพึงยา ใช้คลื่นตัดสัญญานความปวด

พบรักษาไมเกรนด้วยคลื่นแม่เหล็กได้ผลดี 

สำนักข่าวเอบีซีรายงานข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรคปวดหัวรุนแรงเรื้อรังหรือโรคไมเกรนว่านักวิทยาศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้คนพบการรักษาอาการปวดหัวจากโรคไมเกรนแบบใหม่ด้วยการใช้เครื่องมือที่มีคลื่นแม่เหล็ก

 

เครื่องมือดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า transcranial magnetic stimulation เป็นเครื่องที่มีขนาดเท่าๆ กับที่เป่าผมและทำงานด้วยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กคลื่นสั้นไปที่สมองของคนไข้เพื่อตัดสัญญานความเจ็บปวดที่ส่งไปยังสมองของคนไข้

 

เครื่องมือรักษาไมเกรนด้วยคลื่นแม่เหล็กนี้เป็นผลงานการคิดค้นของทีมนักวิจัยชาวอเมริกันและการทดลองรักษาโรคไมเกรนด้วยอุปกรณ์การแพทย์ชิ้นใหม่นี้ได้การนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการของสมาคมโรคปวดหัวอเมริกันซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบอสตัน

 

เครื่องมือนี้จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษาโรคไมเกรนด้วยอุปกรณ์การแพทย์ นพ.ริชาร์ด ลิปตัน หัวหน้านักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์อัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ ในกรุงนิวยอร์ก ผมคิดว่าสำหรับคนที่ไม่ชอบการรับประทานยาหรือว่าคนที่มีปัญหาเรื่องผลข้างเคียงจากการใช้ยาเครื่องมือใหม่นี้เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์มาก

 

ทีมนักวิจัยของนายแพทย์ลิปตันทำการทดสอบประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรนด้วยเครื่องมือแม่เหล็กในคนไข้ไมเกรนที่มีอาการอย่างรุนแรงที่มักจะมีอาการรบการกวนการมองเห็น หรือ เกิดจุดบอดในดวงตา จำนวน 201 คน

 

นพ.ลิปตันกล่าวว่าอาการไมเกรนชนิดรุนแรงนี้มักเกิดร่วมกับอาการเกี่ยวกับประสาท เป็นต้นว่า อาการชา และ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนชนิดนี้คิดเป็นจำนวนประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของคนไข้ไมเกรนทั้งหมด

 

สำหรับการวิธีการรักษานั้นแพทย์ให้คนเข้าเอาอุปกรณ์นี้จ่อที่ด้านหลังของหัวทันทีเมื่อที่เริ่มมีการปวด ผลการทดลองพบว่า 39 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่ใช้อุปกรณ์แม่เหล็กของจริงหายขาดจากอาการปวดเป็นเวลานาน 2 ชั่วโมงหลังใช้ เทียบกับคนไข้จำนวน 22 เปอร์เซ็นต์ที่ได้ใช้อุปกรณ์แม่เหล็กปลอม

 

นักวิจัยกล่าวว่าถึงแม้ว่าการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยเครื่องมือนี้จะได้ผลค่อนข้างดีแต่ไม่ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกคนเพราะการรักษาไมเกรนที่น่าจะดีที่สุดคือการป้องกันตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวต่าง 

 

เครื่องแม่เหล็กนี้มีเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีอาการปวดหัวเป็นประจำทุกวันถึงแม้จะพยายามรักษาด้วยหลาย ๆ วิธีแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดีนพ.โจเอล แซ็ปเปอร์หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าวผลการวิจัยนี้ยังคงไม่ใช่ผลท้ายสุดฉะนั้นแล้วจึงยังจำเป็นจะต้องทำการทดลองเพิ่มเติมอีกก่อนจะนำมาใช้ในการรักษาคนไข้จริงๆ

 

 

 

 

 

ที่มา:สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

 

 

update:30-06-51

Shares:
QR Code :
QR Code