ผ่าตัดส่องกล้องมะเร็งได้ผลไม่เต็ม 100%
ระบุกว่า 9 % ของติ่งเนื้อร้ายในลำไส้แบนจนมองไม่เห็น
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าการวิจัยอันใหม่ระบุว่าการผ่าตัดส่องกล้องมะเร็งลำไส้และทวารหนักหรือวิธีโคโลโนสโคปีนั้น พบว่ายังมีความผิดพลาดในการตรวจหาเนื้อร้ายได้อยู่ โดยมักมองไม่เห็นติ่งเนื้อที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะเจริญไปเป็นเนื้อร้ายต่อไปในอนาคตได้
การวิจัยนี้พบว่ามากกว่า 9 % ของติ่งเนื้อดังกล่าวนี้มักจะมีลักษณะที่แบนมากๆ ทำให้มองเห็นได้ยากแม้ผ่านกล้องที่สวนเข้าไปตรวจถึงในลำไส้แล้วก็ตาม ทั้งนี้เป็นการวิจัยของทีมจากรัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับวิธีโคโลโนสโคปีนั้น เป็นวิธีการตรวจที่ใช้กล้องเอนโดสโคป ซึ่งเป็นกล้องที่มีขนาดเล็กและยึดติดกับท่อที่มีความยืดหยุ่นได้ใช้สอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูสภาพภายในลำไส้และหากพบสิ่งผิดปกติแพทย์ก็สามารถตัดออกมาได้เลยในคราวเดียวกัน
แต่สิ่งที่ทีมนักวิจัยพบและกล่าวว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือติ่งเนื้อชนิดที่มีลักษณะแบนราบ (non-polypoid colorectal neoplasm) ซึ่งเป็นติ่งเนื้อที่มักจะก่อตัวไปเป็นเนื้องอกมะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายมากกว่าที่เคยเข้าใจกันมาก่อนหน้านี้
นพ.
ซึ่งเมื่อทีมนักวิจัยนำติ่งเนื้อเหล่านี้ไปตรวจหาเซลล์มะเร็งยิ่งพบสิ่งที่น่าตกใจกว่าคือติ่งเนื้อเหล่านี้มีแนวโน้มเจริญไปเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งสูงกว่ากว่าเนื้องอกที่มองเห็นได้ชัดกว่า ถึง 10 เท่าตัวทีเดียว ผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมแพทย์อเมริกัน
นอกจากนี้แล้วทีมนักวิจัยระบุด้วยว่าคนไข้ที่ผ่านการทำโคโลโนสโคปีแล้วยังพบว่า 1 % จะยังคงถูกตรวจพบในภายหลังว่าเป็นมะเร็งในระยะเวลา 3 ปีหลังจากทำการผ่าตัดส่องกล้องไปแล้ว ซึ่งการศึกษาพบติ่งเนื้อแบนราบชนิดร้ายแรงนี้เองน่าจะเป็นคำตอบหนึ่งว่าทำไมคนไข้จึงยังเป็นมะเร็งได้อยู่แม้หลังทำโคโลโนสโคปีไปแล้ว
ด้านนพ.
ยิ่งไปกว่านั้นแล้วการทำจำลองภาพการตรวจลำไส้ด้วยการสแกนคอมพิวเตอร์ (virtual colonoscopy) ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะทำให้มองไม่เห็นติ่งเนื้อร้ายแบนราบนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นทั้งนพ.ลีเบอร์แมน และนพ.โซเอติคโน จึงฝากเตือนไปยังแพทย์ที่ใช้วิธีโคโลโนสโคปีทั้งหลายว่าควรต้องใช้ความระมัดระวังในการมองหาติ่งเนื้อแบนราบชนิดนี้เป็นพิเศษเมื่อส่องกล้อง
ที่มา : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
update 10-03-51