ผลวิจัยชี้ “ขวดนม” อันตรายต่อเด็ก
สารเคมีภายในทำให้อ้วนฉุ
ผู้เชี่ยวชาญเตือนสารเคมีในขวดนมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลายชนิดอาจทำให้เด็กเป็นโรคอ้วนไปตลอดชีวิตได้งานวิจัย 3 ชิ้นพบว่า การได้รับสารเคมีซึ่งใช้ในพลาสติก กระทะชนิดทอดไม่ติด และท่อประปา จะทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
คณะกรรมการโรคอ้วนยุโรปในเจนีวา ได้รับฟังรายงานวิจัยซึ่งสรุปว่า เด็กเล็กและทารกในครรภ์มีโอกาสเสี่ยงสูง เพียงได้รับสารเคมีจำนวนหนึ่งก็จะเปลี่ยนกระบวนการเผาผลาญของร่างกายไปตลอดชีวิต
ก่อนหน้านี้ งานวิจัยจำนวนมากชี้ว่า สารเคมี อาทิ บิสฟีนอล เอ ซึ่งพบในขวดนมพลาสติก ขวดน้ำ และกระป๋องเบียร์หรือน้ำอัดลม มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แท้ง เป็นหมันข้อค้นพบล่าสุดนี้เป็นการเพิ่มน้ำหนักของข้อเรียกร้องให้สั่งห้ามใช้สารดังกล่าว
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์ในแมสซาซูเซตส์ ชี้ว่า บิสฟีนอล เอ ทำให้เกิดโรคอ้วน หลังจากติดตามภาวะสุขภาพของหนูทดลอง ซึ่งแม่ของพวกมันได้รับสารชนิดนี้ในช่วงตั้งท้องและให้นมลูก
นักวิจัยพบว่า พวกลูกหนูมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วกว่าหนูตัวอื่นๆ แม้ได้กินอาหารในปริมาณเท่ากัน และออกกำลังกายเท่าๆ กัน
แม้งานวิจัยไมได้พิสูจน์โดยตรงว่า บิสฟีนอล เอ ทำให้คนเราอ้วนเกิน แต่เป็นที่รู้กันว่าสารตัวนี้จะออกมาจากขวดพลาสติกและกระป๋องดีบุกเข้าสู่น้ำและอาหารได้ คนส่วนใหญ่มีสารชนิดนี้อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งพบได้ในน้ำนมแม่ สายรก และของเหลวในเยื่อถุงน้ำคร่ำ
เบเวอร์ลี รูบิน นักวิจัย บอกว่า การไดรับสารเคมีชนิดนี้ในช่วงก่อนและหลังการเกิดจะมีผลอย่างยาวนานต่อการควบคุมน้ำหนักตัว
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งจัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐ ได้ศึกษาผลของกรดเพอร์ฟลูโอโรออกตาโนอิกหรือ pfoa ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบในผลิตภัณฑ์หลายชนิด ตั้งแต่กล่องใส่พิซซ่าไปจนถึงกระทะชนิดทอดไม่ติดผลวิจัยว่า หนูทดลองได้รับสารเคมีดังกล่าวในมดลูกมักตัวเล็กผิดปกติเมื่อแรกคลอดกล่าวในมดลูกมักตัวเล็กผิดปกติเมื่อแรกคลอดแต่กลับมีน้ำหนักตัวมากกเกินเมื่อโตขึ้นงานอีกชิ้น
โดยนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเผยว่า สารไทรบูทัยลิน ซึ่งพบในท่อพีวีซี ทำให้หนูทดลองอ้วน นักวิจัย ดร.บรูซ บลัมเบิร์ก บอกว่า นี่คือเหตุผลที่ประชาชนบางส่วนต้องดินรนควบคุมน้ำหนักตัวอยู่ชั่วชีวิตอย่างไรก็ดี บริษัทผู้ผลิตบอกว่าสารบิสฟิสนอล เอ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพฟีโอนา เฟอร์กูสัน แห่งสมาคมอุตสาหกรรมเคมี บอกว่า องค์การอาหารและยาของรัฐบาลสหรัฐ ได้ยืนยันแล้วว่า สารดังกล่าวในระดับที่พบในน้ำและอาหารนั้นนับว่าปลอดภัย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
update: 29-05-51