ผนึกกำลังสร้าง ‘โรงเรียนแห่งความสุข’ แดนอีสานล่าง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ผนึกกำลังสร้าง 'โรงเรียนแห่งความสุข' แดนอีสานล่าง thaihealth


หนุน ‘โรงเรียนสุขภาวะ ‘ สร้างเยาวชนเป็นสุขทั้งร่างกาย จิตใจ ทักษะชีวิต และรักการเรียนรู้


พ่อแม่ส่วนใหญ่ต่างแสวงหาโรงเรียนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้กับลูก พร้อมทั้งมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ได้คุณภาพ และต้องเป็นโรงเรียนที่ผู้เรียนมีความสุข แต่โรงเรียนในฝันเหล่านี้มักเป็นโรงเรียนราคาแพงและมีอยู่น้อยแห่ง เป็นที่มาของความร่วมมือในการพัฒนา "โรงเรียนสุขภาวะ" ในพื้นที่ จ.นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร โดยการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยนครพนม และสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 เพื่อให้มีผลต่อโรงเรียนทั้ง 1,435 แห่ง และนักเรียนอีก 300,160 คน


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. เล่าว่า เด็กเยาวชนถือเป็นยุทธศาสตร์การทำงานเชิงรุกของ สสส.จึงเริ่มที่โรงเรียนเป็นฐานในการทำงานด้วยการส่งเสริมให้เกิด "โรงเรียนสุขภาวะ" โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้ผู้เรียนเป็นสุขทั้งร่างกาย จิตใจ ทักษะชีวิต ความเป็นพลเมืองดี และความรักในการเรียนรู้ การจะทำเช่นนั้นได้ต้องทำทั้งการลดปัจจัยเสี่ยง จัดโครงสร้างและระบบต่างๆ ให้โรงเรียน สภาพแวดล้อม ครอบครัว และชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาวะของผู้เรียนทั้งด้านกาย ใจ สังคม และปัญญา จึงต้องทำงานร่วมกันของคน 4 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองและชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร และครู 


การทำงานเพื่อพัฒนาให้เกิดโรงเรียนสุขภาวะ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม แลกเปลี่ยนว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาให้เกิดโรงเรียนสุขภาวะจะมีส่วนผนึกกำลังสร้าง 'โรงเรียนแห่งความสุข' แดนอีสานล่าง thaihealthช่วยเติมเต็มความรู้และเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียน ทั้งการปฏิรูปการเรียนการสอน ตลอดจนระบบสุขภาวะในโรงเรียน เช่น กิจกรรมทางกาย การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ และเชื่อมโยงสร้างการเรียนรู้ผ่านต้นทุนของชุมชน เป็นต้น พร้อมกับเชื่อมประสานทุกภาคส่วนต่างๆ ในการทำงาน และส่งเสริมให้มีการปรับสภาพแวดล้อมลดปัจจัยเสี่ยง ให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม ครอบครัว และชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาวะของผู้เรียนทั้งด้านกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีความสุข


สำหรับตัวอย่างโรงเรียนสุขภาวะ เพ็ญแข นาถโกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยหีบวิทยาธาร จ.สกลนคร เล่าถึงการทำงานของโรงเรียนว่า ทางโรงเรียนเน้นการสร้างเสริมการบริโภคเพื่อสุขภาพโดยนำข้อมูลความรู้จากทาง สสส.มาสื่อสารให้เด็กเข้าใจถึงอันตรายของการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะการบริโภคหวาน มัน เค็ม ที่นำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ในด้านกิจกรรมทางกาย มีการสร้างพื้นที่กิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานปลอดภัย และกำหนดให้มีกิจกรรมแอโรบิกขยับกายในทุกวันพฤหัสบดี นอกจากนี้โรงเรียนยังให้ความสำคัญเรื่องของพิษภัยเหล้า บุหรี่ ที่ไม่ได้ทำงานเพียงในพื้นที่โรงเรียน แต่ยังเชื่อมโยงไปสู่ชุมชน โดยมีเด็กเป็นสื่อกลางในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนลดการดื่มเหล้าสูบบุหรี่อีกด้วย


"สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน เรายังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการเรียนรู้ของผนึกกำลังสร้าง 'โรงเรียนแห่งความสุข' แดนอีสานล่าง thaihealthเด็กร่วมกัน เพื่อให้สอด คล้องกับพื้นที่ ภายหลังจากการทำงานเป็นเวลา 2 ปี จากเมื่อก่อนที่ผู้ปกครองในพื้นที่ส่วนใหญ่เลือกที่จะส่งลูกเข้าเรียนในเมืองมากกว่า เนื่องจากไม่เชื่อมั่นในคุณภาพการเรียนการสอน แต่ปัจจุบันโรงเรียนบ้านห้วยหีบวิทยาธาร มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี" ผอ.รร.บ้านห้วยหีบวิทยาธาร กล่าว


ส่วน ดร.วรกัญญาพิไล แกระหั้น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนสังข์ศรี จ.มุกดาหาร เล่าว่า การทำงานของโรงเรียนเริ่มต้นจากสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูผู้สอน เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนให้เติบโตเป็นคนดีมีทักษะอาชีพที่ดี โดยเฉพาะการสร้างอาชีพในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชน ไม่ทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด ผ่านกระบวน การเรียนการสอนแบบ Professional Learning Community (PLC) เปลี่ยนจากเน้นการสอนของครูมาเป็นเน้นการเรียนของนักเรียนแบบช่วยเหลือ แบ่งปันกัน สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความท้าทาย ความสนุก โดยครูสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับนักเรียนด้วยการลงมือทำร่วมกัน


"กิจกรรมเด่นที่โรงเรียนได้ดำเนินการ คือ การสร้างทักษะอาชีพโดยมีผู้ปกครองอาสาเข้ามาเป็นวิทยากร และมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน เช่น การผลิตขนมเพื่อสุขภาพ นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้การทำขนม ยังได้รายได้จากการนำไปจำหน่าย เมื่อมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์เด็กจะรู้สึกไม่เบื่อ สนุกในการได้เรียนรู้ มีความรับผิดชอบ ผลการเรียนของนักเรียนดีขึ้น ในอนาคตเมื่อเด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป" ดร.วรกัญญาพิไลกล่าวทิ้งท้ายการสร้างโรงเรียนแห่งความสุข.

Shares:
QR Code :
QR Code