`ป่วยจิตเภท`พบหมอรักษาหาย

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ไทย'ป่วยจิตเภท'4แสน พบหมอรักษาหาย thaihealth


แฟ้มภาพ


รมสุขภาพจิตเผยคนไทยป่วยโรคจิตเภท 4 แสนราย ส่วนใหญ่อายุ 15-35 ปี เข้าถึงบริการเพียง 61 % แนะญาติพารักษาตัวก่อนก่อเหตุรุนแรง ยันรักษาหายได้


นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยจิตเภทถึง 26ล้านคน และเกือบ90%อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถเข้าถึงการบำบัดรักษาส่งผลต่อการทำงานของสมองและการหายขาด ส่วนใหญ่พบในช่วง อายุระหว่าง15-35ปี


สำหรับประเทศไทย โรคจิตเภท เป็นโรคทางจิตที่พบมากที่สุดจากรายงานของกรมสุขภาพจิต คาดว่ามีผู้ป่วยโรคจิตเภท เป็นผู้ป่วยมีปัญหาด้านอารมณ์พฤติกรรมและความคิดผิดปกติ 412,394ราย และมีเพียง249,139ราย หรือประมาณ 61%เท่านั้น ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา


พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าโรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถรักษาได้ เกิดจากความผิดปกติของสมอง อาจเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรือความผิดปกติจากพันธุกรรม การปรากฏอาการของโรคอาจถูกกระตุ้นจากภาวะความกดดันทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการเสพสารเสพติด ที่พบมากในช่วงอายุดังกล่าว อาจเป็นเพราะคนไข้มีปัจจัยภายในเดิมอยู่แต่ต้นแล้ว เมื่อมีการสั่งสมประสบการณ์ชีวิตมากขึ้นก็อาจกระตุ้นทำให้ปรากฏอาการของโรค


โดยมีสัญญาณเตือนเช่น ไม่สนใจตัวเอง บางครั้งนั่งนิ่งไม่เคลื่อนไหว มีความคิดผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง มีอาการหลงผิด คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย มีอาการประสาทหลอน หูแว่ว รวมทั้งเห็นภาพหลอนซึ่งหากสงสัยว่า ตัวเองหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว สามารถปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต1323 หรือรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม


หากไม่ได้รับการรักษา ย่อมส่งผลกระทบ ตั้งแต่ทำให้ตกงาน คุณภาพชีวิตเสื่อมถอย รวมทั้งในรายที่อาการหนักมากๆ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือรักษาไม่ต่อเนื่อง จะทำให้มีความหวาดระแวงสูง กลัวคนอื่นมาทำร้าย นำไปสู่การก่อเหตุรุนแรง สังคมหวาดกลัว ตอกย้ำตราบาปให้ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น


อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจิตเภทที่เป็นผู้ก่ออาชญากรรมมีไม่ถึง 5 % ถือว่าน้อยมาก แต่เมื่อปรากฏการกระทำผิดก็มีการเผยแพร่เป็นเรื่องใหญ่โต อยากให้สังคมเข้าใจผู้ป่วยโรคนี้ว่าเป็นเหมือนโรคเรื้อรังต่างๆ เมื่อรักษาแล้วสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้


พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่าการดูแลรักษาทางกายใช้ยาเพื่อลดอาการและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ผู้ป่วยต้องกินยาต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง อาจต้องใช้เวลาหลายปี แต่ยาจะช่วยควบคุมอาการและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลับสู่สังคม ดูแลตนเองและทำงานได้แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงมากจะรักษาด้วยไฟฟ้าทางจิตใจด้วยการพูดคุยให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจตัวเองและมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ผิดปกติ


พร้อมปรับกระบวนการคิดที่ส่งผลให้อาการของโรคแย่ลง ทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด ออกกำลังกาย และครอบครัวบำบัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพเช่น ฝึกทักษะการใช้ชีวิตในสังคม ทักษะการประกอบอาชีพ ทักษะการสื่อสารสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นตลอดจนส่งเสริมให้ญาติมีความรู้ เจตคติ และทักษะการดูแลผู้ป่วย

Shares:
QR Code :
QR Code