ปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่ในโลกนี้
ปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่ในโลกนี้ จะประกอบด้วย
น้ำแข็งขั้วโลก ร้อยละ 76.5 หรือเท่ากับ 28.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ร้อยละ 22.9 หรือเท่ากับ 8.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำผิวดิน (น้ำในทะเลสาบ คู คลอง แม่น้ำ ฯลฯ) ร้อยละ 0.6 หรือเท่ากับ 16.3/76.5 = 0.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปริมาณน้ำจืดที่สามารถนำมาใช้สอย มีประมาณร้อยละ 10.71 ของปริมาฯน้ำจืดทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ราว 3,7400,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำใต้ดินที่ลึกไม่เกิน 800 เมตร เป็นน้ำในทะเลสาบ 125,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นความชื้นในดินที่ต้นไม้ดูดซับไว้ 69,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นไอน้ำในอากาศ 13,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำผิวดินในแม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ เพียงร้อยละ 0.04 หรือเท่ากับ 1,500 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อมีแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบน เนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ กระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฎจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ดังนั้น น้ำที่มนุษย์ใช้แล้ว มิได้สูญหายไปไหน แต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกลับมาใช้อีกได้ โดยกระบวนการกลั่น การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการรวมตัวในบรรยากาศที่เรียกกันว่า วัฏจักรของน้ำ
วัฏจักรของน้ำ คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ ซึ่งสามารถอธิบายได้อย่างง่าย ๆ คือ เมื่อน้ำตามที่ต่าง ๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยข้นสู่เบื้องบน เมื่อไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้น และกระทบกับความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีก เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเมื่อได้รับความเย็น กระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
ที่มา : องค์การจัดการน้ำเสีย