นำเสนอผลวิจัย ความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ

ที่มา: เว็บไซต์ศูนย์ข่าวแปซิฟิก


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


นำเสนอผลวิจัย ความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ thaihealth


TDRI นำเสนอผลวิจัยความปลอดภัยโดยสารรถสาธารณะ คนขับและผู้โดยสารละเลยเข็มขัดนิรภัย


มาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ ในวันนี้ได้มีการเสนอ ที่จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI)


ดร.สุเมธ องกิตติกุล หัวหน้าทีมวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหารถโดยสารสาธารณ ทั้งเรื่อง ความปลอดภัย คุณภาพการให้บริการ และการเข้าถึงรถโดยสาร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลง หรือ จำเป็นต้องยอมรับสภาพโดยไม่มีทางเลือก แม้ภาครัฐจะมีการออกนโยบายในเรื่องรถโดยสารสาธารณะเพื่อมาควบคุมและให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้โดยสาร แต่ก็เป็นเพียงนโยบายเท่านั้น สิ่งสำคัญคือการต้องติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทางทีมวิจัยจึงพยายามนำเสนอผลการสำรวจเชิงลึก โดยประเด็นหลัก คือปัญหาความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้รถโดยสารสาธารณะใส่ใจน้อยที่สุดคือ เรื่องการคาดเข็มขัดนิรภัย


ผลสำรวจของรถโดยสารสาธารณะหว่างจังหวัด และรถตู้ พบว่า กว่าร้อยละ 10 มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยไม่ครบถ้วน และผู้โดยสารก็ไม่ได้สังเกตว่ารถโดยสารติดตั้งเข็มขัดนิรภัยหรือไม่ ในส่วนของตัวผู้โดยสารเอง ก็ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องการคาดเข็มขัดนิรภัยขนาดนั่งบนรถสาธารณะ พบว่าผู้โดยสารรถตู้ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 81 ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย เนื่องจาก รู้สึกอึดอัด ระยะทางใกล้ และอายไม่กล้าที่จะใส่


ซึ่งเป็นจุดเล็กๆที่หลายคนมองข้าม และ ไม่รู้ว่า ขณะนี้มีกฎหมายบังคับใช้ ว่าหากผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะมีโทษปรับ 5,000 บาท ส่วนปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้านอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ อาทิ สภาพรถโดยสาร ในกรุงเทพฯ ที่มีสภาพแย่ทั้งภายนอกและภายใน รวมทั้งอุปกรณ์นิรภัยที่ไม่มีติดประจำรถ พนักงานขับรถ ขับเร็วเกินกว่ากำหนด โดยพบว่ารถตู้ในกรุงเทพฯมีสัดส่วนการขับเร็วมากที่สุด การบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในรถตู้ประจำทาง


ทั้งนี้จากการสอบถามผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะ กว่า 1,000 คน บริเวณ ป้ายรถโดยสารประจำทาง จุดโดยสารการขนส่ง ผลสำรวจออกมาว่า ผู้โดยสาร มีความกังวลต่อความปลอดภัยของรถตู้โดยสารระหว่างจังหวัดมากที่สุด ทั้งด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย พฤติกรรมผู้ขับขี่ และปัญหารถตู้ที่ผิดกฎหมาย ส่วนรถโดยสารที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ รถเมล์ระหว่างจังหวัด เนื่องจาก ไม่ค่อยพบรถที่ใช้ความเร็วเกินกำหนด และความปลอดภัยค่อนข้างสมบูรณ์


จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทีมวิจัยจึงได้มีการเสนอข้อเสนอแนะ โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐ ในการประเมินคุณภาพ ผู้ถือใบอนุญาตฯ และผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งทบทวนการออกใบอนุญาต พัฒนาระบบความปลอดภัยรถโดยสาร และเข้มงวดกับการตรวจรถโดยสารมากยิ่งขึ้น ด้านผู้ประกอบการจะต้องมีการอบรมตรวจความพร้อม และติดตามพฤติกรรมของพนักงานขับรถ โดยต้องให้พนักงานขับรถมีเวลาพัก ครั้งละ 30 นาที ด้านผู้โดยสาร ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองโดยเฉพาะการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง และตรวจสอบข้อมูลรถโดยสารทุกครั้งในขณะขึ้นรถ


 

Shares:
QR Code :
QR Code