ทำอย่างไรดีถ้าท้องผูกเรื้อรัง
ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน
แฟ้มภาพ
อาการท้องผูกเป็นตัวบ่งบอกพฤติกรรมเสี่ยง (เช่น กินเส้นใยอาหารน้อย กิจกรรมทางกายน้อย สูบบุหรี่) และปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น ความอ้วน เบาหวาน ภาวะซึมเศร้า) ขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวช่วยบอกโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรงเป็นประจำ
ทำอย่างไรดีถ้าท้องผูกเรื้อรัง
- หาเหตุปัจจัยที่ทำให้เราท้องผูก ตัวเรากินอาหารที่มีเส้นใยมากหรือไม่ ควรกินผักสดอย่างน้อย 2 ฝ่ามือต่อมื้อ (ผักสุก 1 ฝ่ามือต่อมื้อ) ผลไม้ 15คำต่อวัน ธัญพืชได้กินบ้างหรือเปล่า
- ยา หรืออาหารบางอย่างที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยาแคลเซียมเม็ด ฝรั่ง ชา กาแฟ
- นั่งๆ นอนๆ ไม่ยอมขยับทั้งวันหรือเปล่า มีโอกาสเดินเร็ว ออกกำลังกาย วันละครึ่งชั่วโมงหรือยัง เครียด หงุดหงิด ซึมเศร้าทั้งวัน (ยิ่งเครียด ลำไส้ยิ่งไม่ทำงาน ท้องยิ่งผูก)
- ลงมือเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การอยู่ ใช้ชีวิตให้มีคุณภาพมากขึ้น ด้วยการกินผัก ผลไม้ ธัญพืช เส้นใยอาหาร กินมะขาม มะละกอ ลูกพรุน ซึ่งจะช่วยในการขับถ่าย ออกกำลังกายเป็นประจำ อารมณ์เบิกบาน แจ่มใส คลายเครียด คลายกังวล
- ถ้าอาการท้องผูกยังไม่ดีขึ้นหลังเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุท้องผูกเรื้อรังและแก้ไขต่อไป เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดโอกาสโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือน