ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ไว้ซื้อความดี ?

ที่มา : สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) 


ภาพประกอบจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9)


ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ไว้ซื้อความดี ? thaihealth


“ความเอ๋ย ความดี ที่นี่ ที่ไหนมีขายบ้าง ราคาเท่าไหร่จะได้เตรียมตังค์” คำถามเสียงดังของ คุณเดช พุ่มคชา ในฐานะนักพัฒนาอาวุโส ทำให้หลายคนต้องพยักหน้าตามจังหวะเว้นวรรค จากนามธรรม ความดีถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจ บนเวทีผ่าน 4 เรื่องเล่าร่วมกับ 4 เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในงาน “We are CSO Forum 2 ความดีไม่มีขาย (Goodness not for sale)”


ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.) ร่วมกับ สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) และกรมธนารักษ์ จากปากคำของสองหนุ่มสาว หนึ่งข้าราชการครู และผู้พิการทางสายตาที่ลุกขึ้นมารวมกลุ่มกันเริ่มต้นทำความดี เรื่องเล่ามากมายไม่รู้จบจึงเริมขึ้น


 “คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่มูลค่าของทรัพย์สินที่มี แต่มันอยู่ที่ว่าเราทำอะไรเพื่อใครหรือยัง และชีวิตที่ไม่เคยทำอะไรเพื่อคนอื่นเลยเหมือนเป็นชีวิตที่ปราศจากคุณค่า ดังนั้นวันนี้เราเริ่มออกไปทำอะไรเพื่อคนอื่นกันดีกว่า” คุณ ชานนท์ เครือด้วง ผู้ก่อตั้งกลุ่มดินสอสีรุ้ง ได้ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงหากเริ่มต้นที่ตัวเราเป้าหมายที่เราจะร่วมพัฒนาสังคมก็จะขยับใกล้เข้ามา จากนั้น คุณพีรพงศ์ จารุสาร ประธานอนุกรรมการศูนย์กฎหมายตาทิพย์ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาจึงได้ขึ้นเวทีมาร่วมขยายภาพของการรวมกลุ่มกันทำความดีในฐานะ “สมาคม” โดยได้แสดงให้เห็นถึงพลังของการรวมกลุ่มกันทำความดี ที่จะยังประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมหาศาล  “พลังของการรวมกลุ่มเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม  และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น สมาคมคนตาบอดเองก็ไม่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้เพียงลำพัง”


ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ไว้ซื้อความดี ? thaihealth


จากนั้นจึงเป็นช่วงเวลาการนำเสนอเรื่องราวการทำความดีของ คุณ จิตชนก ต๊ะวิชัย เกษตรกรสาวรุ่นใหม่ ที่ผันตัวเองหลังจากจบปริญญาตรีจากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลับไปทำนาที่บ้านเกิด และต่อได้ยอดพัฒนาความรู้จนกลายมาเป็นต้นแบบในการสร้างการเรียนรู้ ผ่านศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ที่ใต้ถุนบ้านของเธอเอง “จากคนบ้าที่เริ่มทำนาโยน กลายมาเป็นคนที่ทุกวันนี้ต้องรับมือกับการเข้ามาสัมภาษณ์ของสื่อมากมายที่เราก็ไม่รู้มาจากไหน การตั้งมั่นและให้ความสำคัญในสิ่งที่ทำไม่ว่าจะทำอะไรโดยเฉพาะเรื่องที่ดี มันก็จะส่งผลย้อนกลับมาหาตัวเราเองเสมอ”  สุดท้ายอดีตข้าราชการครูที่กลายเป็นผู้อนุรักษ์ต้นลำพูต้นสุดท้าย คุณ สมปอง ดวงไสว ได้เล่าถึงเรื่องราวของการเริ่มต้นเป็นคนอนุรักษ์ว่าวันนั้นผมดูถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้าเสด็จเดินรอบสวนสันติชัยปราการ แล้วทรงมีรับสั่งกับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ ว่าบางกอกไม่มีมะกอก บางม่วงไม่มีมะม่วง แต่บางลำพู ยังมีต้นลำพูใหญ่ต้นเก่าแก่ เมื่อจะสร้างพระที่นั่งฯ เกรงว่าจะไปบังต้นลำพู ผมจึงจดบันทึกกระแสพระราชดำรัสนั้นไว้ไม่ให้ตกหล่น จากนั้นจึงเริ่มต้นชวนลูกศิษย์สามคนชวนกันไปวัดขนาดความกว้างความยาวของต้นลำพู จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ต้นลำพูต้นสุดท้าย”


ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ไว้ซื้อความดี ? thaihealth


จะเห็นได้ว่าแม้แรงบันดาลใจจะมาจากทิศทางไหน ก็ร่วมผลักดันให้คนทำดี มีประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าของตัวเอง ปิดท้ายกิจกรรมบนเวที We are CSO Forum 2 ความดีไม่มีขาย (Goodness not for sale) ด้วยการแสดงจากวงดนตรีศิลปินคนตาบอด S2S ที่มาร่วมบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดงานทุภภาคส่วนได้แสดงให้


เห็นแล้ว ว่าหากเกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา ชุมชนจะเข้มแข็ง สังคมจะเป็นสุข และคุณค่าของความดีจะคืนกลับมาอยู่กับทุกคน โดยไม่ต้องเตรียมสตางค์ไปหาซื้อ เพราะความดีนั้นไม่มีขาย เพราะ “ WE ARE CSO ใครๆ ก็เป็นได้”

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ