ต้นแบบ ‘ชุมชนเพศศึกษา’ พูดเรื่องเพศให้เป็นความรู้

          พลิกมุมมองเรื่องเพศ ติดอาวุธทางปัญญาให้เยาวชน สร้าง10 ชุมชนต้นแบบ


   /data/content/25570/cms/e_hknpsu235789.png       ประเทศไทยระยะหลังนี้มีแต่ภูเขาไฟระเบิด อันเกิดจากหลายเหตุผล อาทิ ความไม่รู้ ความอยากรู้อยากลอง ผู้ใหญ่ไม่พูดและอธิบายกับเด็ก หลายเครื่องหมายคำถามคาใจก่อตัวสะสมจนระเบิดตูมเป็นปัญหาสังคมไทย ทั้งปัญหาแม่วัยรุ่น โรคเอดส์ ความรุนแรงทางเพศ ที่มีสถิติสูงลิ่วไม่เป็นรองประเทศใดในโลก


          เกิดคำถามไม่น้อยว่า "ถึงเวลาแล้วหรือยัง" ที่ครอบครัว ชุมชน สังคมจะพูดเรื่องเพศกันอย่างเปิดเผย ตรงนี้อาจไม่เพียงเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่ยังมีมิติด้านสุขภาพ ทัศนคติ ทักษะการใช้ชีวิต


          เสมือนติดอาวุธทางปัญญาให้เด็กในเวลาต้องเผชิญสถานการณ์ลำพัง แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ต้อง "พลิกมุมมองเรื่องเพศ เติมพลังชุมชน ปกป้องเด็ก-เยาวชน" จัดร่วมกันโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ซอยงามดูพลี


          นางสาวจิติมา ภาณุเตชะ ผู้ประสานงาน สคส. กล่าวว่า ประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคือ ความคิดความเชื่อ เราเข้าไปอธิบายกับผู้ใหญ่ในชุมชนให้เปิดกว้าง เพราะเด็กและเยาวชนจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องนี้ ซึ่งจากการทำงานอย่างหนักต่อเนื่องผ่านระบบการทำงานที่ชัดเจน เราก็สามารถเปลี่ยนความคิดผู้ใหญ่ในชุมชนได้ และสามารถทำให้ลูกหลานของเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้/data/content/25570/cms/e_befghpqvwxz9.jpg


          "คนอาจมองว่า การพูดเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย เป็นเรื่องลามก ทั้งๆ ที่จริงก็พูดกันอยู่แล้ว แต่เป็นในลักษณะล้อเลียนและตลก และนำไปสู่การคุกคามทางเพศ อาทิ ข่มขืน แต่ทำไมเรากลับไม่พูดเรื่องเพศที่ทำให้เกิดความรู้ อันจะทำให้ชีวิตมีความปลอดภัย อย่างไรก็ดี ความร่วมมือนี้สะท้อนว่าเราสามารถเปลี่ยนด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องรอภาครัฐมาขับเคลื่อนให้เลย"


          ใน 10 ชุมชนต้นแบบ ต่างมีเอกลักษณ์การพลิกมุมมองเรื่องเพศเป็นของตัวเอง อาทิ "พาแลงสัญจร" โดยกลุ่มฮักหนองแข้ จ.กาฬสินธุ์ ใช้วิธีเชิญคนในหมู่บ้านมาช่วยกันทำกับข้าว เพื่อเปิดโอกาสพูดคุยเรื่องเด็กและเยาวชนในการแก้ไขปัญหา, เฮลธ์คลับและละครสะท้อนสุขภาวะเพศ โดยกลุ่มไม้ขีดไฟ จ.นครราชสีมา ใช้วิธีจัดห้องเรียนสุขภาวะทางเพศ เผยแพร่เรื่องจัดกิจกรรมผ่านวิชาสุขศึกษา, "โรงเรียนสุขภาวะทางเพศ" สำหรับเด็กประถมโดยกลุ่มมานีมานะ จ.สงขลา ใช้วิธีนำแนวคิดไประยุกต์ใช้ในห้องเรียน ปรับมุมมองครูเรื่องเพศเชิงบวก และสามารถให้คำปรึกษาได้ อาทิ การมีประจำเดือน


          ศ.ศิริพร จิรวัฒน์กุล นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า งานวิจัยชี้ว่าเด็กอยากรู้เรื่องเพศจากบ้านมากที่สุด รองลงมาคือโรงเรียน แต่ความจริงเด็กกลับเรียนเรื่องเพศจากไหนไม่รู้ แต่เรียนที่บ้านน้อยที่สุด


          ทั้งนี้ เรื่องเพศเป็นเรื่องใหญ่ คิดว่าโครงการนี้จะเข้าไปสะเทือนเรื่องใหญ่ให้สามารถเป็นความจริงได้


 


 


        ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน


        ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code