ต้นทุนชีวิตเด็กไทย ต้องซ่อมด่วน!!
สร้างจิตสำนึกดี ด้วยพลังครอบครัว
“เด็กไทยมีความคิดจริงจังในการพยายามฆ่าตัวตายเฉลี่ย 8.5% เคยมีความคิดจริงจังในการพยายามฆ่าตัวตาย หากแบ่งเป็นชายมีความคิดดังกฝล่าว 9.5% หญิง 7.5% ทั้งนี้เด็กระบุว่าภายใน 1 ปีที่ผ่านมารู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวเสมอประมาณ 8.1% และไม่มีเพื่อนสนิทประมาณ 3.6%
ทางด้านเพศ เด็กชายและหญิงเฉลี่ยใช้ถุงยางอนามัยน้อยกว่า 1 ครั้งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาถึง 59.4% นอกจากนี่รับว่า เคยมีเพศสัมพันธ์กับบุคคล 2 คน หรือมากกว่า เด็กชาย 10.1% เด็กหญิง 1.8% มีพฤติกรรมดังกล่าว
เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย 76.5% เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกมากกว่าการจิบเพียงเล็กน้อยมาก่อนอายุ 14 ปี และเกือบ 20% ยอมรับว่าเคยดื่มในปริมาณมากจนมึนเมาจำนวน 1 ครั้ง ส่วนบุหรี่ประมาณ 73.7% ของนักเรียนยอมรับว่าเคยสูบบุหรี่ครั้งแรกอายุต่ำกว่า 13 ปี”
นี่คือข้อมูลที่ นพ.
ข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยในวงการเสวนา “การสร้างต้นทุนชีวิตเพื่อการแก้วิกฤติเด็กและเยาวชนในประเทศไทย” ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ร่วมกันจัดงานขึ้น
ยังไม่รวมถึงประเด็นเรื่องความรุนแรงที่สะท้อนว่าเด็กเฉลี่ย 32.9% เคยถูกทำร้ายร่างกายมาอย่างน้อย 1 ครั้ง รวมถึง 46.8% รับว่าเคยได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้งด้วย
“ผลการสำรวจเป็นเรื่องที่น่าตกใจเพราะเป็นข้อมูลสะท้อนว่าเด็กไทยกำลังมีปัญหาในเรื่องครอบครัว โดยเฉพาะกับผู้ปกครองจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากกว่านี้” ความคิดเห็นของมุมมองนักวิชาการอย่าง นพ.โสภณ สอดคล้องกับคุณหมอเด็กที่ศึกษาเรื่องต้นทุนเด็กอย่างเชี่ยวชาญ เช่น คุณ
“เด็กเรียนเก่งมีต้นทุนชีวิตทางด้านจิตอาสาให้กับชุมชนน้อยที่สุดเพียง 34% เมื่อเทียบกับเยาวชนกลุ่มอื่น จะให้เหมือนกับที่ผู้ใหญ่บอกว่าจะให้เก่งอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจิตสำนึกสาธารณะไม่ได้เติบโตไปด้วย ขณะที่เด็กด้อยโอกาสมีจิตอาสามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับเด็กที่ประสบเหตุธรณีพิบัติสึนามิและได้รับผลกระทบจากเอดส์มีเรื่องจิตอาสาสูงกว่าด้วย”
ปัญหาเรื่องนี้ คุณ
“ที่ผ่านมาพ่อแม่เน้นในเรื่องการหาปัจจัยด้านเงินทอง ขวนขวายหาเรียนโรงเรียนสถาบันกวดวิชา อาหารต่างๆ เพื่อหวังพัฒนาไอคิว อีคิวของลูกหลาน แต่เรื่องของต้นทุนชีวิตยังไม่มีการกล่าวถึงมากนัก และให้ลองหลับตานึกภาพก็อาจเห็นแค่รางๆ เท่านั้น”
ซึ่งทุนชีวิตนี้แบ่งจากแบบประเมินชี้วัดที่คุณหมอพัฒนาขึ้น จะแบ่งได้เป็น 5 พลังที่เป็นตัวชี้วัดจากแบบประเมิน คือ
1. พลังของตนเองของเด็กและเยาวชน พลังในที่นี้คือพลังในคุณค่าในภาพลักษณ์ทางสังคม
2. พลังของครอบครัว ความรัก ความอบอุ่น ที่สมาชิกภายในครอบครัวมีให้แก่กัน
3. พลังปัญญา เป็นการหาความรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกหลักสูตรทางการศึกษา อาทิการเรียนในห้องเรียน และเรียนรู้จากสังคมไม่ว่าจะเป็นประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ
4. พลังชุมชน การเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน เช่น จิตอาสา ฯลฯ
5. พลังเพื่อและกิจกรรม ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ร่วมกัน
เมื่อพอเห็นแล้วว่า “ต้นทุนชีวิตเด็ก” มาจากปัจจัยด้านใด อาจทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ลูกหลานของเราไมได้เติบโตมาด้วยเงินทองที่พ่อแม่เบียดบังเวลาที่จะต้องอยู่ดูแลลูกไปหามาให้เท่านั้น แต่พวกเขายังต้องการความรัก การอบรมดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย
เวลาและความเอาใจใส่ของครอบครัว เป็นปราการด่านแรกที่จะทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาอย่างมีต้นทุนชีวิต จากนั้นสังคมนอกบ้านหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงการศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ จะเป็นผู้ใหญ่ที่จะคอยประคับประคองเด็กๆ และเยาวชนของชาติเหล่านี้ให้เติบโตต่อไปอย่างสมบูรณ์
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
Update 13-07-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก