ชุมชนแข็งแรง “สร้าง” ได้

จุฬาฯ แนะใช้ 5ส. สร้างสรรค์คุณภาพอาหาร

 

ชุมชนแข็งแรง “สร้าง” ได้

          ถ้าจะเอ่ยถึง ชุมชนจุฬาฯ คนกรุงเทพฯดูจะคุ้นเคยกันมานานนับเกือบร้อยปี เนื่องจาก ชุมชนดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็น ชุมชนสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯมหานคร เพราะนอกจากจะมีสถานที่สำคัญทางด้านการศึกษาแล้ว ยังมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างเนืองแน่น และ เต็มไปด้วยภาคธุรกิจหลายประเภท

 

          ชุมชนจุฬาฯจึงได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเจริญ และ สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตให้แก่คนในชุมชน

 

          ล่าสุด สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “โครงการบ้านนี้มีสุข” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดโครงการ ” ชุมชนแข็งแรง ชุมชน 5ส.” อันเป็น โครงการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชนในบริเวณ สยาม  

 

          สแควร์ สามย่าน สวนหลวง สีลม และ สวนลุมพินี ภายใต้ โครงการนำร่อง สองโครงการ คือ “สยามสแควร์ อาหารปลอดภัย รสชาติดี มีความสุข (safe food good taste feel happy @ siam square)” และ “โครงการพัฒนาเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก (developing cu-oral health promotion network(cu-ohp network)”

 

          เพื่อวัตถุประสงค์หลักคือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบข้าง โดยใช้สุขภาวะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเพื่อให้คนในชุมชนมีความแข็งแรง และมีความสุข รวมทั้งเป็นการเสริมภาพลักษณ์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

 

          ในส่วนของ สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ การได้สนับสนุนด้วยตัวเงิน เพื่อต้องการให้ ชุมชนจุฬาฯ กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ที่จะสร้างความสุขด้านสุขภาพและจิตใจให้กับคนในชุมชน ถือว่า เงินช่วยเหลือดังกล่าวเล็กน้อยมากกับผลประโยชน์มหาศาลที่ประชาชนในชุมชนจะได้รับเพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพตามหลักวิชาการ อันจะเป็นตัวอย่างที่ดี ที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงพื้นที่ภาคธุรกิจกับมหาวิทยาลัยมีการขยายวงกว้างไปยังแหล่งอื่นๆอีกด้วย

 

          ศาสตราจารย์นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ 5 ส. ว่า ตามประเด็นยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” โดยมีเป้าประสงค์ที่สำคัญคือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบข้าง ที่ใช้สุขภาวะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเพื่อให้คนในชุมชนมีความแข็งแรง และมีความสุข รวมทั้งเป็นการเสริมภาพลักษณ์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนนั้น หากจะแยกแยะออกมาให้เห็นถึงรายละเอียดจะพบว่า

 

          โครงการแรก “สยามสแควร์ อาหารปลอดภัย รสชาติดี มีความสุข” เป็นโครงการที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สำนักงานเขตปทุมวัน และสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ทำการตรวจสุขลักษณะสถานประกอบการบริเวณสยามสแควร์ จำนวน 150 แห่ง ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารมาทำการตรวจสอบวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและแม่นยำในห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหารของคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการอบรมสุขลักษณะให้แก่ผู้ประกอบการ โครงการนี้จะก่อประโยชน์ให้กับทั้งผู้ประกอบการอาหารและผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการอาหารได้ทราบถึงสุขลักษณะในสถานประกอบการของตนเอง มาตรฐานและความปลอดภัยของอาหาร จะได้นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการคุ้มครองสร้างความมั่นใจเรื่องอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นประชาชนคนไทยหรือชาวต่างชาติ ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในอาหารของบริเวณสยามสแควร์ ผู้ประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะได้รับป้ายเพื่อรับประกันถึงคุณภาพความปลอดภัยและความอร่อย ระยะเวลาการดำเนินงานคือ ตั้งแต่มีนาคม- ตุลาคม 2553

 

          ส่วนโครงการที่สอง “โครงการพัฒนาเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก” เป็นโครงการจากภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยการส่งนิสิตชั้นปีที่ 5 ไปฝึกปฏิบัติงานทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยโครงการจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553-กุมภาพันธ์ 2557

 

          สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ เล็งเห็นความสำคัญของประชาชนในชุมชน สยามสแควร์ สามย่าน สวนหลวง สีลม และ สวนลุมพินี เพื่อการมีสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี การปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพและสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในระยะยาว ร่วมกับการพัฒนาชุมชนไปพร้อม ๆ กัน ในครั้งนี้ จึง

เปรียบเสมือนการ ยิงปืนนัดเดียวได้นกเป็นฝูง แถมยังเป็นนกที่มีคุณภาพระดับยอดเยี่ยมและยั่งยืนอีกด้วย

 

          กรุงเทพมหานคร และ หัวเมืองต่างๆของประเทศไทย ที่กำลังมีความเจริญก้าวหน้า และ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ของ พลเมือง และ เท็คโนโลยีอย่างรวดเร็วในยุคนี้ จึงควรที่จะตระหนัก และ หันมามองถึงการดูแลพัฒนาคนในชุมชน และ กิจกรรม ทั้งภาคธุรกิจ และ ภาคบุคคล ให้พร้อมที่จะก้าวทันไปกับความเปลี่ยนแปลงของการขยายตัวอย่างกลมกลืนกันด้วย เพื่อที่คนในชุมชนจะได้ไม่เดือดร้อน และกลายเป็นเหยื่อของความเจริญที่คุกคามมาอย่างไม่เห็นตัวด้วย

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 

 

 

update: 07-04-53

อัพเดทเนื้อหาโดย: ภราดร เดชสาร

Shares:
QR Code :
QR Code