‘ชุมชนเข้มแข็ง’ด้วยบทเรียนสึนามิสู่หนทางป้องกันภัย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ภาพประกอบจากมูลนิธิสยามกัมมาจล

'ชุมชนเข้มแข็ง'ด้วยบทเรียนสึนามิสู่หนทางป้องกันภัย thaihealth

"ภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อประมาณกว่าสิบปีที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของหลากหลายเรื่องราวความสูญเสีย ซึ่ง "บ้านน้ำเค็ม" จ.พังงา เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

แต่พวกเขาได้นำประสบการณ์ของตนเองมาแปรเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ ลงมือทำจนสามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาส จากผู้ประสบภัยกลายเป็นต้นแบบของศูนย์เรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมนำเสนอบทเรียนในอดีตมาเป็นวิทยาทานเผยแพร่ให้แก่บุคคลภายนอกรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ผ่านหัวข้อ "บทเรียนสึนามิ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" จัดขึ้นที่บริเวณอนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เมื่อวันที่ 25-26 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนจากชุมชนและเยาวชน'ชุมชนเข้มแข็ง'ด้วยบทเรียนสึนามิสู่หนทางป้องกันภัย thaihealthจากพื้นที่ต่างๆ ที่เคยประสบภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมาย

โดยกลุ่มอาสาสมัครภัยพิบัติบ้านน้ำเค็ม ร่วมกับองค์กรภาคี ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และมูลนิธิชุมชนไท ใช้ชื่องานว่า "รำลึก 12 ปี สึนามิ : จากอาสาสมัครสึนามิ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ภัยพิบัติเป็นสิ่งหนึ่งที่กระทบต่อสุขภาวะ หลังจากการเกิดเหตุการณ์สึนามิเป็นแรงกระตุ้นให้หลายหน่วยงานตื่นตัว โดย สสส.มองว่าการจัดการภัยพิบัติจะยั่งยืนได้อยู่ที่ "ชุมชน" โดยเฉพาะชุมชนบ้านน้ำเค็ม จ.พังงา เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิจำนวนมาก แต่สามารถพลิกฟื้นด้วยการรวมตัวกันของชุมชน เกิดการบริหารจัดการตนเองจนสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบได้

นอกเหนือจากการให้ทุนสนับสนุนแล้วนั้น สสส.ยังเข้าไปหนุนเสริมเชื่อมโยงให้เกิดการแลกเปลี่ยน'ชุมชนเข้มแข็ง'ด้วยบทเรียนสึนามิสู่หนทางป้องกันภัย thaihealthเรียนรู้ร่วมกันจากหลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วประเทศ มีการประสานงานกับองค์กรต่างๆ แล้วนำมาสร้างมาตรการในการจัดการภัยพิบัติให้สอดคล้องกับวิถีในพื้นที่ของตนเอง จนสามารถรับมือกับภัยพิบัติและภาวะวิกฤติ นำไปสู่การฟื้นฟูอย่างเป็นระบบได้

"ความท้าทายในการทำงานเรื่องภัยพิบัติของไทย คือการที่สังคมไทยไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีภัยพิบัติบ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความสนใจ ละเลยที่จะเตรียมพร้อมป้องกันและมีการจัดการที่ดี ดังนั้น แผนที่ดีสามารถสร้างขึ้นได้ แต่หากขาดความตื่นตัวในการลงมือทำก็จะไม่ทำให้เกิดความยั่งยืน "บ้านน้ำเค็ม" เป็นหนึ่งในต้นแบบการจัดการที่ดี ที่คาดว่าจะสร้างความตื่นตัวให้คนไทยเข้าใจและตระหนักถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียอย่างในอดีตได้" ผู้จัดการ สสส.กล่าว

ด้านนายอารีย์ ติงหวัง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 ต.หลอมปืน อ.ละงู จ.สตูล ตัวแทนกลุ่มรักจังสตูล กล่าวว่า ภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ เมื่อชุมชนของเราสามารถตั้งหลักได้แล้ว ก็เริ่มกระบวนการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาคนและแก้ปัญหาประเด็นปัญหาต่างๆ โดยมีภาคีภายนอกเข้ามาหนุนเสริมทั้งด้านงบประมาณ องค์ความรู้ กระบวนการพัฒนาต่างๆ ทำให้คนสตูลสามารถลุกขึ้นมาบริหารจัดการ'ชุมชนเข้มแข็ง'ด้วยบทเรียนสึนามิสู่หนทางป้องกันภัย thaihealthตนเองในด้านการพัฒนาคน การร่วมกันแก้ไขปัญหาระดับกลุ่ม หมู่บ้าน และเมื่อหลายๆ ประเด็นของแต่ละชุมชนได้กลายเป็นประเด็นร่วมของจังหวัดสตูล เกิดกลุ่มรักจังสตูลขึ้นมา

"พวกเรามีเป้าหมายร่วมกันก็คือ สตูลต้องยั่งยืน ในการรวมพลังคนสตูล เราต้องทำโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตั้งแต่พื้นที่กลาง ตั้งแต่ระดับกลุ่ม ชุมชน ตำบล ตอนนี้ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นในการร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลที่เรามีเพื่อป้องกันภัยต่างๆ รูปแบบใหม่ที่ถาโถมเข้ามาที่ชุมชน"

ด้านนายวราวุฒิ มาศโอสถ ตัวแทนจากกลุ่มกำพวนโมเดล กับมิติศาสนากลไกการจัดการชุมชน กล่าวว่า กำพวนโมเดลเกิดขึ้นจากสตรีไม่กี่คนมาร่วมกันเก็บเงินออมวันละ 1 บาท แล้วเอาเงินส่วนนี้ไปช่วยเหลือเด็กกำพร้าและกลุ่มผู้ป่วยเอดส์/เอชไอวีที่เป็นเหยื่อสึนามิ ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีองค์กรใดคิดถึงให้ความช่วยเหลือทันท่วงที ทุนที่มีเอาไปให้สวัสดิการสังคม เราส่งเสริมการศึกษา และส่งเสริมด้านสุขภาวะ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสใช้ชีวิตต่อไปในสังคม

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีเวทีเสวนา "การยกระดับบทเรียน จากสึนามิ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดย 'ชุมชนเข้มแข็ง'ด้วยบทเรียนสึนามิสู่หนทางป้องกันภัย thaihealthรศ.ปาริชาติ วลัยเสถียร อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญจากบทเรียน 12 ปี สึนามิ คือชุมชนรู้จักเก็บข้อมูล จัดการข้อมูล และวิเคราะห์ ซึ่งหากจะนำมาประยุกต์ใช้ โดยส่วนตัวเห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสเจอคลื่นลมมรสุมอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ที่ว่าผู้ประสบภัยและผู้เสี่ยงภัยจะมีความเข้มแข็งมากเพียงไรในการเตรียมพร้อมรับมือและป้องกัน

"แม้ปัจจุบันยังไม่เกิดคลื่นสึนามิอีกครั้ง แต่สังคมไทยมีคลื่นภัยชนิดอื่นกำลังเกิดขึ้น ทั้งโครงการท่าเรือน้ำลึก การก่อสร้างเขตอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน เหมืองแร่ เหล่านี้กำลังเป็นภัยกับชาวบ้านในหลายพื้นที่ ต้องเตรียมพร้อมรับมือด้วยความสามัคคี"

นักวิชาการจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวสรุปการรวมพลังและลุกขึ้นมาร่วมกันจัดการปัญหาและพัฒนาชุมชนไปสู่ความยั่งยืน จึงเป็นโจทย์ท้าทายที่ชุมชนต่างๆ จะต้องมีองค์ความรู้ กระบวนการเพียงพอ และความสามัคคี เพื่อเตรียมรับมือจากภัยพิบัติต่างๆ ที่เข้ามา โดยเฉพาะที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ #www.scbfoundation.com.

Shares:
QR Code :
QR Code