ชุมชนจักรยานภาคเหนือ หนุนจักรยานพาหนะคู่ใจ

ที่มา : หนังสืพิมพ์ไทยโพสต์ 


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


ชุมชนจักรยานภาคเหนือ หนุนจักรยานพาหนะคู่ใจ thaihealth


ชุมชนจักรยานในภาคเหนือรุ่ง ชาวบ้านหันมาปรับใช้รถจักรยานในชีวิตประจำวัน และเป็นพาหนะคู่ใจ


ที่ห้องประชุม โรงแรมแม่ยมพาเลส จังหวัดแพร่ สสส.ร่วมกับชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพประเทศไทย ได้จัดเวทีติดตามความก้าวหน้าโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ โดยมี 35 ชุมชนจักรยานในภาคเหนือและภาคกลางตอนบน เดินทางมาร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานของในแต่ละพื้นที่ พร้อมเติมองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อผลลัพธ์ในการดำเนินงาน ที่จะทำให้เกิดการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงและยั่งยืน รวมทั้งเพื่อขับเคลื่อนให้โครงการฯ ได้เดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรม


นายสุวัฒน์ สังข์ทอง ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ต.กกแรต อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย หนึ่งในชุมชนจักรยานที่ประสบความสำเร็จ โดยสามารถผลักดันให้โรงเรียนในพื้นที่จำนวน 3 แห่ง ได้ออกกฎห้ามไม่ให้นักเรียนนำรถจักรยานยนต์มาใช้ในโรงเรียนบอกว่า


"ชุมชนกกแรตให้ความสำคัญกับเด็กนักเรียนมาเป็นอันดับแรก ปัจจุบันมีโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 3 แห่ง ที่คณะทำงานได้ผลักดันจนทางโรงเรียนได้ออกกฎห้ามไม่ให้นักเรียนนำรถจักรยานยนต์มาในโรงเรียน ซึ่งเป็นผลจากมติของคณะครูและผู้ปกครอง โดยให้เหตุผลในเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะที่ผ่านมามีนักเรียนได้รับอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ทางชมรมฯ จะทำในขั้นตอนต่อไปก็คือการรณงค์ให้มีการเดิน หรือปั่นจักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางครับ"


ด้านศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนก.ค.59  โดยได้คัดเลือก 99 ชุมชนจากทั่วประเทศมาร่วมโครงการฯ และเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุปประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ จึงได้จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการชุมชนจักรยาน เพื่อสุขภาพภาวะในระดับภูมิภาค ซึ่งในภาคเหนือได้มี 35  ชุมชนจักรยานในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนเข้ามาร่วม โดยภาพรวมของ 35 ชุมชนภาคเหนือนั้นพบว่าประชาชนได้ตื่นตัว เกิดกระแสกลับมาใช้จักรยานมากขึ้น มีการรณรงค์การใช้จักรยานในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย คนในพื้นที่ซึ่งเคยใช้จักรยานในอดีตได้หันกลับมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการพัฒนาแนวร่วมภาคีเครือข่ายให้กว้างขวาง ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจข้อมูลชุมชน  ในประเด็นเรื่องการใช้จักรยาน ฯลฯ เพื่อนำเอาข้อมูลไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม สร้างการเรียนรู้ จัดทำกิจกรรมรณรงค์ที่สอดคล้องกับวิถีปฏิบัติ และตรงกับความต้องการของคนในชุมชน ครับ"


ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนัก 6 สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส. ได้กล่าวว่า "จากผลการดำเนินงาน หามองถึงปัจจัยความสำเร็จจะพบว่ากระบวนการทางสังคมและเครื่องมือในชุมชนคือสิ่งสำคัญในการกระตุ้นให้ประชาชนได้รับรู้เห็นความสำคัญ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น อาทิ ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนของชุมชนเห็นด้วยและให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อน, การมีผู้นำที่เข็มแข็งเอาใจใส่เรื่องชุมชนจักรยาน, การเข้าใจถึงเป้าหมายและมุ่งสู่การทำให้คนในชุมชนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น นอกจากนี้คือเรื่องนวัตกรรมทางสังคมเช่น เทศบาลเมืองแกน ใช้วิธีให้ชาวบ้านมาผ่อนรถจักรยานมือสอง ราคาถูก, การทำคลินิกซ่อมจักรยาน หรือทำเส้นทางแบบมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น เทศบาลตำบลป่าสัก ทำป้ายบอกจำนวนแคลอรี่และพลังงานที่ใช้เมื่อได้ปั่นจักรยาน รวมถึงเรื่องการประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสให้เกิดการรับรู้ และการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีในชุมชน ฯลฯ ซึ่งกล่าวมาล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ชุมชนจักรยานได้ประสบความสำเร็จครับ"


โดยผู้สนใจจะสอบถามเรื่อง โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ปี 2 หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่ โทร.08-1628-5141 และ 06-3358-4503 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

Shares:
QR Code :
QR Code