ชี้ ‘พ่อแม่’ ปัจจัยพัฒนาเด็กปฐมวัย

ที่มา : มติชน 


ภาพประกอบจากเว็บไซต์มติชน


ชี้ 'พ่อแม่' ปัจจัยพัฒนาเด็กปฐมวัย thaihealth


โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการหน่วยวิชาการการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการดูแลเด็กปฐมวัย


นายรณรงค์ จันใด รองคณบดีฝ่ายบริหารและการวางแผน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หัวหน้าคณะติดตามและประเมินผลโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการหน่วยวิชาการการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการดูแลเด็กปฐมวัย กล่าวในการประชุมนำเสนอผลการศึกษาการสร้างเสริมสุขภาวะในกลุ่มเด็กปฐมวัยระดับพื้นที่ และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย สนับสนุนโดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ด้วยกระบวนการแบบก้าวกระโดดตามแนวทางของ COACT และ สสส.สร้างให้เกิดการพัฒนาได้อย่างรอบด้าน ได้แก่ 1.การพัฒนาศักยภาพความสามารถของครู ศพด. 2.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ศพด. 3.การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำหลักสูตร 4.การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ 5.การออกแบบโครงการอย่างเป็นระบบ มุ่งการดำเนินงานทั้งด้านปฏิบัติการ ด้านการบริหาร และด้านนโยบาย รวมถึง การสร้างระบบติดตามตรวจสอบ ส่งผลให้เกิดการผลักดันเชิงนโยบาย


นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ไขสถานการณ์พัฒนาการเด็กล่าช้า มีแนวโน้มคงที่มานานกว่า 20 ปี ต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่โดยเปลี่ยนแนวคิดสำคัญ คือการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ไม่ใช่เฉพาะหน่วยราชการ แต่ต้องให้ท้องถิ่นเป็นตัวหลัก และพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเข้ามาปฏิบัติ ตัวอย่างความสำเร็จหนึ่งในเรื่องปฐมวัยที่เห็นชัดคือความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงานในการจัดทำคู่มือเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เพื่อเฝ้าระวังพัฒนาการของเด็ก โดยมีหัวใจ และปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่สุดคือ ให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พ่อแม่ต้องรู้เป็นคนแรก ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องยกระดับคุณภาพใหม่ไม่ใช่ใช้แบบสอบถาม แต่จะต้องวัดจริงทุกครั้งที่เด็กมาเข้ารับบริการ

Shares:
QR Code :
QR Code