จัดโรงเรียนฉลาดเล่น นำร่อง 18 แห่ง
ที่มา : ไทยโพสต์
ภาพประกอบจากเว็บไซต์ไทยโพสต์ และแฟ้มภาพ
สสส.จับมือมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเวทีงานวิจัยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ฟันธงเด็กและเยาวชนไทยไม่ถึงครึ่งผ่านเกณฑ์กิจกรรมทางกายตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก สอบผ่านเพียงร้อยละ 26.2 เท่านั้น เด็กและเยาวชนไทยเล่นออกแรงแบบไม่มีกติกามากกว่า 2 ชั่วโมง/วัน (Active Play) เพียงร้อยละ 8.7 เท่านั้น เด็กและเยาวชนไทยเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางกายไม่ถึงครึ่งที่เข้าร่วม หรือร้อยละ 44.1
เร่งพัฒนาโรงเรียนฉลาดเล่นนำร่อง 600 รร.ทั่วประเทศ ตัวแทนผู้บริหาร 76 คนจาก 18 รร.ทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม รร.นำร่องฉลาดเล่น เด็กนั่งเนือยนิ่งอยู่หน้าจอ 6 ชั่วโมง ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยตรง ปีก่อนคนไทยตาย 3 แสนคนจากโรค NCDs นั่งเนือยนิ่ง
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าวภาพรวมการจัดโครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 8-15 ปี ให้มีสุขภาวะที่ดีเหมาะสมตามวัย และเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครู ผู้ปกครอง ถึงความสำคัญในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายทั้ง 3 มิติ ลดการเนือยนิ่ง รวมถึงการสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ขยายผลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวงกว้างต่อสังคมไทย
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ให้คำนิยามเกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อเกิดการใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการใช้และเผาผลาญพลังงานของร่างกาย นับตั้งแต่กิจกรรมทางกายที่เกี่ยวกับการทำงาน การเดินทางในชีวิตประจำวัน เวลาว่างจากการทำงานหรือเสร็จสิ้นภารกิจงานประจำ เด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 5-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ หรือมีเวลาในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรงในระดับปานกลางถึงระดับหนักสะสมให้ได้อย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน
สถานการณ์ปัจจุบันของการมีกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย พบว่า "มีเด็กไทยไม่ถึงครึ่งที่ผ่านเกณฑ์องค์การอนามัยโลก" ผลการสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยปี พ.ศ.2561 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า มีเด็กและเยาวชนไทยเพียงร้อยละ 26.2 มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จากการสำรวจยังพบว่าเด็กและเยาวชนไทยมีการเล่นออกแรงแบบไม่มีกฎกติกามากกว่า 2 ชั่วโมง/วัน (Active Play) เพียงร้อยละ 8.7 เท่านั้น รวมถึงการเล่นกีฬาและกิจกรรมทางกายที่มีโครงสร้างของเด็กและเยาวชนไทย พบว่า มีเด็กและเยาวชนไทยไม่ครึ่งที่มีการเข้าร่วม หรือร้อยละ 44.1
มีการศึกษางานวิจัยในต่างประเทศพบว่า การมีกิจกรรมทางกายช่วยพัฒนาด้านการนับถือตนเองในเด็กได้ (Mark S. Tremblay, J.Wyatt Inman, J. Douglas Willms, 2000) พบว่า กิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพัฒนาการด้านทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม พฤติกรรมทางสังคม ทัศนคติที่มีต่อโรงเรียน และพัฒนาการด้านการคิด
"โรงเรียนฉลาดเล่น" (Active School) คือ โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เด็ก ๆ จะได้มีความสุขกับการเรียนรู้ผ่านทางการเล่น มีกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างวัน รวมทั้งการทำกิจกรรมทางกายที่ควบคู่กับการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ภายใน รร.ฉลาดเล่นนี้ เด็ก ๆ จะมีพัฒนาการที่สมวัยอย่างรอบด้าน รู้สึกมีความสุขและผูกพันกับการอยู่ที่ รร. การได้เรียนกับคุณครูที่มีกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้มีประสบการณ์ตรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
ช่วงเวลาที่สมองของเด็กมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เด็กจะได้ร่วมกิจกรรมการเล่นแบบ Active Play ที่ผ่านการทดลองวิจัย เพื่อให้สมองมีความพร้อม มีสมาธิสำหรับการเรียน ใช้บูรณาการเข้ากับโครงการโรงเรียนฉลาดเล่นได้ศึกษาวิจัยบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้เชิงกลไกที่เรียกว่า 4PC เป็นชุดความรู้เชิงวิชาการเกี่ยวกับแนวทางและกลไกการสนับสนุนกิจกรรมทางกายในโรงเรียนเป็นหลัก หาก รร.ต้องการส่งเสริม 3พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เป็นไปอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยที่สอดคล้องต่อระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของโลกปัจจุบันและอนาคต
รร.ใช้กลไก 4PC ได้แก่ Active policy, Active people, Active place, Active Program Active classroom ไปใช้ในการออกแบบกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนควบคู่ไปกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องใน รร. การหนุนเสริมให้เด็กนักเรียนได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากขึ้น ตลอดจนการสร้างเสริมอุปนิสัยเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายที่ดีในรั้ว รร.ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด โรงเรียนมีบทบาทที่สำคัญในการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้สนับสนุนกิจกรรมทางกาย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรของประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย
กฤตณัฏฐ์ กนกธร ทำหน้าที่พิธีกร ดำเนินรายการจัดกิจกรรมร่วมกับสถานศึกษานำร่องทั่วประเทศจำนวน 600 รร. ทั้งนี้มีคุณครูที่เป็นตัวแทนจากทุกภาคของประเทศไทยจำนวน 76 คน มาจาก 18 รร.ทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม WORKSHOP โรงเรียนฉลาดเล่น เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม รวมถึงการฝึกใช้งานให้ถนัดทั้งสองมือ ยิ่งเก่งเท่าไหร่ก็จะทำอะไรใหม่ ๆ ให้กับชีวิตได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะเล่นดี 3 มิติส่งเสริมการเรียนรู้
คุณครูที่มาจาก รร.ใน จ.พิษณุโลก จำนวน 5 รร. มี รร.จ่าการบุญ, รร.วัดศรีวิสุทธารามฯ มีคุณครูมณีรัตน์ เนียมหอม เป็นตัวแทนครู, รร.บ้านใหม่เจริญธรรม, รร.วัดแหลมเจดีย์, รร.บ้านท่าไม้งาม รศ.ดร.อัจฉรียา กสิยะพัท อาจารย์ต้นแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อ.ประจำภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ เข้ามาเป็นวิทยากร คุณครูที่มาจาก รร.ใน จ.ชลบุรี รร.วัดท้องคุ้ง รร.อ่างศิลาพิทยาคม รร.สมลวิทยาเขตชลบุรี คุณครูที่มาจาก รร.ใน จ.ตาก รร.เด่นไม้ซุงวิทยาคม รร.ทรัพย์สมบูรณ์พิทยาคม รร.เด่นวัวราษฎร์รังสรรค์ รร.บ้าน วังโพ ชุมชนวัดป่าลาน สพป.ตากเขต 1 คุณครูที่มาจาก จ.นครราชสีมา รร.บ้านจอหอ ครูที่มาจากนครศรีธรรมราช รร.ชุมชนบ้านปากเสียว ส่วนคุณครูที่มาจาก รร.ในกรุงเทพฯ รร.วัดโพธิ์เรียง, รร.ราชมนตรี
รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นวิทยากร กล่าวถึงความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกาย Active Play และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในกลุ่มวัยเด็ก ตั้งคำถามว่าทำไมไม่ปล่อยให้เด็กเล่นตามเรื่องตามราวในโลกใบใหญ่ มุ่งทำให้เด็กเข้าสู่ Active Play เด็กจะได้เจริญเติบโตทั้งกายใจ สังคมและมีจิตสำนึก ถ้าปล่อยให้โลกเปลี่ยนแปลงโดยขาดจิตสำนึก ขาดความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน อนาคตจะลำบากมาก เราช่วยกันสอนลูกหลานทำ Active Play กิจการผสมผสานสร้างให้จิตใจดี มีเพื่อนฝูง มีสังคม ตกผลึกจิตสำนึกที่ดีต่อเพื่อนฝูง สังคมจะมีความสุขมาก ทำอย่างไรให้เด็กติดเกมวันละ 5-6 ชั่วโมง บางครั้ง 8 ชั่วโมง ให้มีเวลาเพิ่มขึ้นไปทำกิจกรรมอย่างอื่น
"การที่เด็กนั่งซื่อบื้อเนือยนิ่งอยู่หน้าจอ 6 ชั่วโมง ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยตรง ปีก่อนคนไทยตาย 3 แสนคนจากโรค NCDs นั่ง เนือย นิ่ง มีคนตายในโรงพยาบาล 1 หมื่นคน ที่ต้องหาสาเหตุ 400 คน ทหารที่ออกไปรบในสงครามยิงกันตายครั้งละ 60-70 คน บ้านเราเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่ มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเทศกาลละ 400 คน ถ้าเจาะลงไปที่คนนั่ง เนือย นิ่ง ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บปีละ 3 แสนคน คนจำนวนครึ่งหนึ่งต้องหาเงินรักษาตัวเองในช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ส่วนใหญ่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียูซึ่งเป็นภารกิจของลูกหลาน โรคที่เกิดจากการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อ้วนท้วนเกิน มีปัญหาต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ฯลฯ ดังนั้นต้องทำให้เด็ก Active ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ลดอ้วนและลดการเล่นเกม เพราะการเล่นเกมมาก ๆ ส่งผลถึงให้เกิดความก้าวร้าว บางครั้งก็มีจิตใจเศร้าหมอง อมทุกข์ เจ้าคิดเจ้าแค้น โมโหโทโส การมีกิจกรรมที่เหมาะสม ระบายความกดดัน ด้วยมุมมอง Active Play ได้ผลงานตามเป้าหมายสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความอ่อนโยนอ่อนน้อมทำให้งานสำเร็จ"
โครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษาภายใต้แนวคิด "ออกมาเล่น แอคทีฟ 60 นาทีทุกวัน" ถือเป็นโครงการต่อยอดและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้ขยายไปในวงกว้าง ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากประชากรวัยเด็กเป็นช่วงวัยแห่งการเจริญเติบโตทั้งในด้านพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าปัจจุบันเด็กไทยจำนวนมากที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ น้ำหนักตัวเกิน สมาธิสั้น หรือพัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือพฤติกรรมหน้าจอที่มากเกินไป "เด็กบางคนมีพรสวรรค์ คิดแต่จะเอาชนะคนเดียว ไม่มีเพื่อน สังคมจะเป็นอย่างไร ถ้าทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ไม่ใช่เหยียบบ่าเพื่อนขึ้นไปอยู่ข้างบนคนเดียว เราต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกที่ดี"
รศ.นพ.ปัญญา กล่าวว่า สสส.ได้ร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม เพื่อดำเนินการตามนโยบายเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับการมีกิจกรรมทางกายของเด็กไทยให้สูงยิ่งขึ้น การดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ที่จะส่งเสริมให้การดำเนินการในภาพใหญ่มีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทของ สสส.ในการขับเคลื่อนการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัยเด็ก
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนึกสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลลัพธ์ของ Active Play ผลดีต่อร่างกาย : ผศ.เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการเข้ากับสาระการเรียนรู้ต่างๆ : รศ.สมควร โพธิ์ทอง ข้าราชการบำนาญมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลลัพธ์ของ Active Play กับการพัฒนาสมอง : รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล การปรับใช้กิจกรรมทางกายในสถานศึกษา : ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยมากกว่าร้อยละ 70 มีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีพฤติกรรมการใช้หน้าจอที่เกินกว่าเกณฑ์คำแนะนำทางด้านสุขภาพ โครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษา จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอสะสมอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน
ในปี 2561 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาชิก Active Healthy Kids Global Alliance (AHKGA) ใน 49 ประเทศทั่วโลก ได้ร่วมมือกันทำการศึกษาสถานการณ์ด้านการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย ในชื่อ Report Card on Children and Youths เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญทางด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อความแข็งแรง พัฒนาการตามช่วยวัย ตลอดจนการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และรอบด้าน 53.4% การเดินทางที่ใช้แรงกาย เด็กและเยาวชนที่มีการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยใช้แรงกาย เดิน ปั่นจักรยาน ใช้วีลแชร์ สเกตบอร์ด 44.1% การเล่นกีฬาและกิจกรรมทางกายที่มีโครงสร้าง เด็กและเยาวชนที่มีส่วนร่วมในการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมทางกายที่มีโครงสร้าง 26.2% การมีกิจกรรมทางกายโดยรวมในแต่ละวัน เด็กและเยาวชนที่มีการเคลื่อนไหวออกแรงในระดับปานกลางถึงหนักสะสมให้ได้อย่างน้อยวันละ 60 นาที 25.6% พฤติกรรมเนือยนิ่ง เด็กและเยาวชนที่ไม่ใช่หน้าจออิเล็กทรอนิกส์เพื่อความบันเทิงเกิน 2 ชั่วโมง/วัน (ตามคำแนะนำของประเทศแคนาดาเกี่ยวกับการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็กที่มีอายุ 5-17 ปี) 8.7% การเล่นออกแรง เด็กและเยาวชนที่มีการวิ่งเล่นออกแรงแบบไม่มีกำหนดรูปแบบกติกาที่เป็นทางการมากกว่า 2 ชั่วโมง/วัน
74.4% ใช้ยุทธศาสตร์กำหนดนโยบายด้านกิจกรรมทางกายที่มีอยู่ได้ถูกนำไปใช้ แสดงถึงการมีผู้นำที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีแหล่งทุน การมีทรัพยากร และการริเริ่มส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนในระดับประเทศ 71.0% ครอบครัวและบุตรรอบข้าง สมาชิกในครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่หาโอกาสหรือสนับสนุนให้บุตรหลานได้มีกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬาร่วมเล่นกับบุตรหลานให้คำแนะนำไปรับ-ส่งที่สวนสาธารณะ และจ่ายค่าสมาชิกหรืออุปกรณ์กีฬาให้ 70.1% โรงเรียนที่จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เครื่องเล่นที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายให้กับเด็กนักเรียน โรงยิม สนามเด็กเล่นกลางแจ้ง สนามกีฬาพื้นที่อเนกประสงค์ รวมถึงอุปกรณ์ที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ 64.2% ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เด็กหรือพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ให้ข้อมูลการมีสิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม สวนสาธารณะและสนามเด็กเล่นที่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ในชุมชนของตนเอง
กิจกรรมหลักของโครงการจะมีทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรของสถานศึกษาผ่านกิจกรรมการอบรมสัมมนาที่น่าสนใจ สามารถนำไปปรับใช้กับการจัดกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน การสัมมนาหัวข้อ "ความสำคัญของการเล่นกับการพัฒนาสมอง" โดย รศ.ดร.ยศนันทน์ วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล "การเรียนการสอนกับกิจกรรม Active Learning โดยอาจารย์สมควร โพธิ์ทอง และวิธีประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดย ผศ.เพิ่มศักดิ์ สุริยจันทร์ รวมถึงต้นแบบโรงเรียนฉลาดเล่น โดย ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชรกรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลกิจกรรม Workshop โรงเรียนฉลาดเล่น
รร.ฉลาดเล่นหา รร.ต้นแบบทั่วประเทศ เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 จำนวน 400 คน จนถึงปัจจุบันเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ว่า หลังจากที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมฉลาดเล่นแล้วสร้างการเปลี่ยนแปลง มีความสุขมีความผูกพันกับ รร.มากขึ้น กล้าพูดคุยกับครู เก็บข้อมูลพัฒนาการของเด็กด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม ทักษะการรู้คิด การสื่อสาร พูด อ่าน เขียน หลายคนกังวลว่าเด็กเล่นมาก ๆ แล้วเด็กจะโง่ ต้องจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ได้ด้วย กิจกรรมห้าเหลี่ยมใยแมงมุม แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของการเรียนรู้ พัฒนาการด้านทักษะต่าง ๆ กิจกรรม Active Play กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี
รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลายประเทศเลือกใช้ Active Play การออกกำลังกายแล้วทำให้ฉลาดขึ้น เพิ่มรอยหยักในสมองมากขึ้น การจดจำดีขึ้นกว่าเดิม สมาธิดีขึ้น และยังทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วย คนที่เครียดมักจะมีจิตตก ยิ่งออกกำลังกายมากเท่าไหร่ก็เพิ่ม
ความคิดสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น ดังที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า Logic will take you everywhere from A to B Imagination จะเห็นได้จากภาพการทดสอบคลื่นสมอง มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมอง คนที่เฉื่อยจะต้องบูตสมองก่อนครึ่งชั่วโมง หลังจากที่ได้เรียนรู้แล้วจะมีพลังมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะรับการเรียนรู้ ส่งผลต่อความทรงจำเพิ่มขึ้นถึง 20% การสร้างกิจกรรมแทรกไปในระหว่างการเรียนก็จะส่งผลดีเพิ่มขึ้นอีกด้วย การเดินสายพานก็จะส่งผลให้มีการคิดเลขเร็วขึ้นด้วย การจัดแบ่งเวลาเรียน เวลาเล่น เวลาพักผ่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นด้วย เล่นตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน 10 นาที เล่นตอนพักเที่ยง 20 นาที เล่นตอนเย็นก่อนกลับบ้านให้มากยิ่งขึ้นเป็น 30 นาที และยังมีกิจกรรมทางกายในระหว่างการเรียนด้วย แต่ต้องระมัดระวังด้วยว่าถ้าเด็กเหนื่อยจนเกินไปก็จะหลับในห้องเรียนได้