จัดกิจกรรม"DIY"เปิดประตูสู่วิถีสุขภาวะ
สำหรับเมืองไทยวันนี้สังคมเปลี่ยนไป จากที่เคยสัมผัสภาพน่ารักดีงาม เช่น พ่อแม่ลูก พี่น้อง เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ เงยหน้าพูดคุย ปรึกษาหารือ แนะนำพร่ำสอนด้วยความยิ้มแย้ม ทั้งช่วงว่างและช่วงเรียน เวลาที่ผ่านไปจึงถูกใช้อย่างก่อประโยชน์ วันนี้ไม่ใช่เมืองไทยกลายเป็นสังคมก้มหน้าไปแล้ว เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียกกันตามภาษาฝรั่งผู้คิดค้นว่า Smart Phone เพื่อทำกิจกรรมส่วนตัวที่ไม่น่าจะเป็นสาระนัก เวลาจึงหมดไปแทบไม่ก่อประโยชน์
สสส.จึงได้จัดกิจกรรม "DIY ตอน นากา Life Balance"ขึ้น ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ รองรับเยาวชนนักเรียนช่วงปิดเทอม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับครอบครัว "การทำกิจกรรม 'DIY ตอน นากา Life Balance' นี้เป็นการจุดประกายให้ประยุกต์ของที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างการนำนากากับกระดานไวท์บอร์ดมารวมกัน นากามีหน้าที่บอกเวลา ส่วนกระดานไวท์บอร์ดก็มีพื้นที่เอาไว้จดบันทึกเตือนความจำหรือสำหรับวาดเขียนก็ได้ เมื่อนำมารวมกันก็เกิดประโยชน์2 ต่อ คือสามารถบอกเวลาและเตือนความจำได้ในคราวเดียวกัน"น.น.วรรณประภา ตุงคะสมิต หรือพี่บัว คอลัมน์นิสต์ นิตยสารSOOK Magazine เล่าถึงที่มาของกิจกรรมให้ฟัง
พี่บัว บอกว่า การทำนากาไม่ยากและอุปกรณ์ไม่เยอะ มีแค่กระดานไวท์บอร์ด เครื่องนากา ปากกาเขียนไวท์บอร์ด สติกเกอร์ที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข และสว่าน ส่วนวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเริ่มจากการหาแพ็ตเทิร์นนากา ซึ่งหาได้จากอินเทอร์เน็ต พิมพ์ออกมา ตัดให้เป็นวงกลมตามรูปแบบและนำมาวางทาบบนไวท์บอร์ดด้านไหนก็ได้ตามความชอบของเรา เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วก็ใช้ปากกาวาดหรือจุดไว้สำหรับเขียนตัวเลข และจุดตรงกลางแบบนากาที่วาดไว้ สำหรับใช้สว่านเจาะเพื่อใส่เครื่องนากาหลังจากนั้นก็ประกอบตัวเครื่องนากาเข้าไปเป็นอันเสร็จเรียบร้อยส่วนจะตกแต่ง
ด้วยการวาดภาพนากา วาดตัวเลขติดสติกเกอร์หรือวาดภาพอะไรก็ได้ตามใจชอบ
ถึงแม้นากาจะทำง่าย แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เหมือนกันพี่บัวฝากถึงเด็กๆ ที่ใช้สว่านเจาะกระดาน ควรอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และควรระวังเศษละอองฝุ่นจากไม้จะกระเด็นโดนตาด้วย
น้องเอย ด.ญ.ณัฏฐชยา ทับอัตตานนท์ วัย 14 ปี G.9 British Columbia International School Bangkok (BCISD)หนึ่งในนักเรียนอีกจำนวนมากที่เข้าร่วมกิจกรรมครังนี้กับ สสส.กำลังก้มหน้าก้มตาทำนากาอย่างตั้งใจ เมื่อถูกชวนคุยเงยหน้าขึ้นมาบอกว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเพราะได้เรียนรู้วิธีการทำนากาซึ่งตนไม่เคยทำมาก่อน ปกติอยู่ที่บ้านก็เคยทำงานฝีมือกับคุณแม่อย่างทำกระเป๋า ตะกร้าจากเศษผ้าส่วนนากาทำมือก็ทำไม่ยาก เริ่มจากวาดแบบ เจาะรูสำหรับใส่เครื่องนากา วาดตัวเลขหรือจะติดสติกเกอร์ก็ได้
"หากเพื่อนๆ มีเวลาว่างก็อยากให้ลองหากิจกรรมทำดู จะเป็นอะไรก็ได้ที่เราชอบและสนุกกับมัน การทำกิจกรรมประเภทนี้ยังช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ นอกจากเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้วยังนำมาใช้งานได้จริงด้วยค่ะ" น้องเอยฝากทิ้งท้าย
อีกด้านของพื้นที่กิจกรรม'ครอบครัววงษ์ศรีแก้ว' ได้ทำนาการ่วมกันอย่างสนุกสนานน้องสตางค์ หรือ ด.ช.นราวิชญ์วงษ์ศรีแก้ว อายุ 9 ปี นักเรียนชั้น ป.4 โรงเรียนซางตาครู้สศึกษาบอกว่า มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งแรก มากับพ่อ แม่ และพี่ชายไม่เคยทำนากาเองมาก่อน วิธีทำก็ไม่ยาก แต่ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยตอนเจาะกระดานวาดเขียนด้วยสว่าน
"พอทำเสร็จแล้วผมรู้สึกภูมิใจมากเลยกับผลงาน เพราะทำด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังเอาไปใช้บอกเวลาได้ แล้วยังใช้วาดภาพเล่นหรือจดบันทึกต่างๆ ได้ด้วย" น้องสตางค์ยิ้ม
กิจกรรม "DIY" นับเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนลูกหลานรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เฉพาะอย่างยิ่งช่วงปิดเทอม ที่สำคัญเป็นกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวที่ผลลัพธ์มิใช่วัตถุที่ได้ หากแต่เป็นการสร้างความสุขกายใจโดยไม่ต้องไปเสาะแสวงหาที่ไหนเลย
ฝากถึงทุกภาคส่วนร่วมกันละลายสังคมก้มหน้าหรือว่าเยาวชนกำลังหลงไปใช้เวลาไม่ก่อประโยชน์เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ โดยจัดกิจกรรมทรงคุณค่า "DIY" กันเยอะๆ เปิดประตูเน้นย้ำนำสู่การสร้างวิถีแห่งสุขภาวะให้สังคมไทย
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ