งานเชิงสังคมก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดย ดุลยปวีณ กรณฑ์แสง


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


งานเชิงสังคมก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ thaihealth


โรงเรียนประถมกับครูสอนคอมพิวเตอร์ที่เดินไม่ได้.. แปลงปลูกผักปลอด สารพิษจากคนที่มองไม่เห็น.. ช่างเฟอร์นิเจอร์ มือฉมัง.. ผู้ช่วยงานหมอ และพยาบาล โรงพยาบาลตำบล ตลอดจน ทีมนักรณรงค์วีลแชร์ ฯลฯ


ส่วนหนึ่ง ของเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นจากก้าวเล็กๆ ของมิติการจ้างงานแบบใหม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยการขับเคลื่อนของ มูลนิธินวัตกรรมเพื่อสังคม ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งพร้อมทำหน้าที่เป็น "แม่สื่อคนกลาง" เข้าไปช่วยดำเนินงานให้กับภาคธุรกิจที่สนใจในการเปลี่ยนเงินก้อนเดิมที่เคยส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามกฎหมายมาตรการ 33 มาสู่การสร้างงานสร้างอาชีพให้คนพิการได้โดยตรง และไม่มีค่าใช้จ่าย จุดเริ่มต้นของมูลนิธินวัตกรรม เพื่อสังคมเกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจ ที่มีจิตอาสาทำงานเชิงสังคม หนึ่งในนั้นคือ อภิชาติ การุณกรสกุล ผู้บริหาร "เอเชีย พรีซิชั่น" บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ที่อยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิฯ คนปัจจุบัน เป้าหมาย คือ มุ่งนำความรู้และการดำเนินงานแบบภาคธุรกิจมาสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาสังคมในประเด็นต่างๆ 


เริ่มจากโจทย์เรื่องแรก คือ การส่งเสริม การจ้างงานคนพิการ ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาข้อจำกัดมากมาย ทั้งคนหางาน และงานหาคนส่งผลให้ที่ผ่านมา บริษัทเอกชนในฐานะ "นายจ้าง"เลือกที่จะใช้วิธีจ่ายเงินเข้ากองทุนผู้พิการปีละกว่า 2,000งานเชิงสังคมก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ thaihealth ล้านบาท แทนการจ้างงานผู้พิการกว่า 2 หมื่นตำแหน่ง การ "จ่ายเงิน" จึงไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดเท่ากับการ "สร้างงาน" ท่ามกลางตัวเลข ผู้พิการกว่า 4 แสนคนที่อยู่ในวัยทำงาน แต่ไม่มีงานทำ ปัญหาเพราะหลายคน ยังขาดโอกาสการศึกษา เกือบ 90% เรียนจบระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า อีกทั้งภูมิลำเนาไม่ได้อยู่ในแหล่งจ้างงาน  จากปัญหาเหล่านี้ จึงนำมาสู่แนวคิดใหม่รูปแบบการ "จ้างงานเชิงสังคม" โดยมูลนิธินวัตกรรมเพื่อสังคม ออกโรงเชิญชวนบริษัทเอกชนต่างๆ หันมาเปลี่ยน "เงินก้อนเดิม" ที่เคยจ่ายเข้ากองทุนฯ มาเป็นการสร้างโอกาสให้คนพิการได้ทำงานใกล้บ้านที่สอดคล้องกับความสามารถ ในรูปแบบของทำงานเพื่อสังคม หรืออาชีพอิสระ "เราเริ่มโครงการนี้ครั้งแรกในปี 2557 ปีแรกมี 20 บริษัทที่เข้ามาร่วมนำร่อง  เกิดการจ้างงานคนพิการเพื่อทำงานในชุมชนกว่า 200 คน ขยายผลต่อมาในปี 2558  มี 88 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ สามารถ จ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการแล้วกว่า 1,200 คน จึงเป็นที่มาของเป้าหมายใหม่


ในปีนี้โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ  ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคีเครือข่าย ที่มุ่งสู่การส่งเสริมให้คนพิการ 10,000 คนทั่วประเทศได้มีงานทำ" 2 ปีที่ผ่านมาของการขับเคลื่อนงานเพื่อผู้พิการ มีตัวอย่างเรื่องราวคำบอกเล่ามากมายที่เขาได้เห็นว่า การสร้างงานให้กับผู้พิการ สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและ ขับเคลื่อนสังคมได้เกินกว่าคำว่า"คุ้มค่า" ไม่ใช่แค่ในมิติด้านเศรษฐกิจ แต่ยังมีมิติ ในด้านครอบครัว การพึ่งพาตนเอง มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ที่ยืนในสังคม และทำให้ชุมชนมองคนพิการต่างไปจากเดิม  เช่น "น้องออมสิน" เด็กออทิสติก


ซึ่งได้รับการฝึกฝนจากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ จนปัจจุบันได้ทำงานเต็มเวลาในตำแหน่งพนักงานต้อนรับศูนย์ฝึกอบรมที่สถาบันฯ โดยได้รับการจ้างงาน จากกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่ารู้สึกดีใจมากที่งานเชิงสังคมก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ thaihealthได้จ้างงาน และตอนนี้ เก็บเงินได้หมื่นกว่าบาทแล้ว ตั้งใจว่า จะเอาเงินไปให้แม่


นอกจากนี้ยังมีกลุ่มหมอนวดคนพิการทางสายตาที่ได้รับจ้างเหมาบริการจากบริษัท DKSH ให้ไปบริการนวดให้กับพนักงานในบริษัท นอกจากหมอนวดคนพิการจะได้ลูกค้าประจำแล้ว บรรดาพนักงานในบริษัทต่างติดอกติดใจยกนิ้วให้กับไอเดียสวัสดิการชั้นยอด นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจของโครงการ Respite Care  ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของพ่อแม่ที่มีลูกพิการทางสติปัญญา ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง โดยการจัดตั้ง ศูนย์บริการรับฝากดูแลคนพิการชั่วคราว ซึ่งบรรดาพ่อแม่ผลัดกันมาเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเลี้ยง ช่วยดูแลเด็กๆ พร้อมทั้งให้บริการ ในชุมชนด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจาก บีทีเอส เป็นต้น เขาเล่าต่อว่า บางอาชีพยังเป็นงานที่คนพิการสามารถทำได้ดีกว่าคนทั่วไป เช่น งานของ ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ


หรือ IL ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของคนพิการที่ก้าวข้ามความท้อถอยในชีวิตมาแล้ว เพื่อเข้าไปลงพื้นที่ให้กำลังใจ และคำปรึกษาฉันท์เพื่อน ช่วยเหลือคนพิการด้วยกันให้สามารถลุกขึ้นมาสู้ชีวิตใหม่ พึ่งพาตนเองได้ ตัวอย่างเช่นเรื่องราวของ นพดล ภู่บ้านใหม่ ชายหนุ่มวัย 31 ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนต้องพิการ จากคนที่เคยท้อแท้เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน คิดว่าตัวเองไร้ค่า แต่หลังจากได้รับโอกาสจ้างงาน โดยปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน


ในพื้นที่ของศูนย์ IL นนทบุรี โดยการจ้างงาน ของไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป สามารถมีเงินให้แม่ ทุกเดือน มีเงินให้ลูกสาวไปกินที่โรงเรียน ได้ทุกวัน แถมยังตัดสินใจเรียนต่อที่ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช เพราะตั้งใจอยากเอาความรู้มาทำงานเพื่อเพื่อนคนพิการที่ เดือดร้อนกว่าตนเอง อีกหนึ่งตัวอย่างการรวมกลุ่มของคนพิการ ที่ต้องยกนิ้วให้ คือ "คลินิกมนุษย์ล้อ" ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของคนพิการที่มีความรู้เรื่องช่าง สู่การเป็นศูนย์ซ่อมแซม ผลิตและออกแบบกายอุปกรณ์ รถเข็น วีลแชร์ เพื่อตอบโจทย์ ผู้พิการโดยเฉพาะ


นิกร ดาวเชิญประธานกลุ่มคลินิกมนุษย์ล้อ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเล่าว่า ผู้พิการแต่ละคนมีลักษณะความพิการทางการงานเชิงสังคมก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ thaihealthเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น วีลแชร์ทั่วไปที่ได้รับบริจาคมาจึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ แต่ต้องผ่านการดัดแปลงให้สอดคล้องกับผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งล่าสุด ได้รับการ สนับสนุนจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งหากมีบริษัทเอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมมากขึ้น ก็จะส่งผลให้สามารถมีเงินทุนหมุนเวียนขยายงาน ขยายโอกาสสู่ผู้พิการได้มากขึ้น "ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้มีเพียงแต่เกิดการจ้างงาน แต่ยังช่วยให้คนพิการมีโอกาสก้าวออกสู่สังคมมากขึ้น จากที่เคยเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน เมื่อมีอุปกรณ์ตัวช่วยทำให้ได้มีโอกาสออกไปพบปะพูดคุยกับคนอื่นคลายความซึมเศร้า หลายคนเริ่มมีเป้าหมาย ในชีวิต" นี่คืออีกหนึ่งคำบอกเล่าจากประธานกลุ่มคลินิกมนุษย์ล้อ "คำว่านวัตกรรมของเรา คือ การเปลี่ยนมุมมองจากการจ้างงานในสถานประกอบการมาเป็นการจ้างงานเชิงสังคม และส่งเสริมอาชีพอิสระ 


อีกหนึ่งจุดเปลี่ยน คือ การเชื่อมโยง ทรัพยากรโดยทำงานผ่านเครือข่ายความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ ไม่ได้ผ่านหน่วยงานราชการ แต่เครือข่ายไหนที่ความพร้อม  เราลงไปช่วยพัฒนาร่วมกันในพื้นที่ มากไปกว่าเป้าหมายในการขับเคลื่อนเชิงปริมาณเพื่อมุ่งไปให้ถึงการจ้างงานคนพิการ 1 หมื่นตำแหน่ง สิ่งที่เรามุ่งหวังคือการพัฒนาในเชิงขีดความสามารถให้คนพิการที่ได้รับโอกาส สามารถเลี้ยงตัวเองได้ สามารถพิสูจน์ความสามารถ และคุณค่าในตัวเองที่ได้รับการยอมรับให้เกิดการจ้างงานต่อไปในท้องถิ่น อีกสิ่งหนึ่งที่เรามุ่งหวัง คือ บริษัทเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถขยายผลไป ดำเนินโครงการต่อด้วยตัวเองซึ่งจะทำให้เกิด ความต่อเนื่องในระยะยาว" อภิชาติ ร่วมเสริม วันนี้ ด้วยรูปแบบนวัตกรรมทาง สังคมแบบใหม่ การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพลังเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยสร้างโอกาสงานให้กับผู้พิการ จึงไม่ใช่เรื่องที่มี ข้อจำกัดสำหรับธุรกิจเอกชนต่อไป  ทำได้ง่าย และไม่ต้องรอ ..ขอแค่เปลี่ยนจาก "จ่ายเงิน" เป็น "จ้างงาน"

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ