‘งานสังคมสุขใจ’ โชว์ปลูกอินทรีย์มีตลาดชัวร์

         ผลจากการลุกขึ้นมาปฏิวัติการทำเกษตรอินทรีย์ภายใต้โครงการ สามพรานโมเดล จากแนวคิดของ อรุษ นวราช ผู้บริหาร รร.สามพรานริเวอร์ไซด์ ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อปี 2553 จนถึงวันนี้อาจพูดได้ว่าสวนสามพรานเป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ที่เป็นโมเดลให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้


/data/content/26515/cms/e_denopquyz278.png


          จากจุดเริ่มต้นด้วยการปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่ 30 ไร่ของ รร. เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับห้องอาหารของ รร. แต่ยังไม่เพียงพอ ต่อมามีเกษตรกรบางส่วนในพื้นที่ใกล้เคียงต้องการจะปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเคมีมาสู่อินทรีย์ แต่ยังขาดองค์ความรู้ และตลาด


          ภายใต้โครงการสามพรานโมเดลได้นำนักวิชาการจาก สกว. และกระทรวงเกษตรฯ มาเป็นที่ปรึกษาด้านผลิตปุ๋ยหมัก การผลิตยาฆ่าแมลงจากชีวภาพ และกระบวนการผลิตอินทรีย์แบบหลักสากลให้ ส่วนตลาดนั้นนอกจาก รร.จะรับซื้อแล้ว ทาง รร.ได้ใช้พื้นที่ของ รร.เปิดตลาดนัดสุขใจขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ พร้อมเร่งผลักดันให้กลุ่มเกษตรกรในโครงการได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์สากล หรือไอฟง (IFOAM -International Federation of Organic Agriculture Movements) คาดว่าในปีนี้จะมีเกษตรกรในพื้นที่ อ.สามพราน ได้รับมาตรฐานไอฟงจำนวน 30 ราย จากทั้งหมด 100 กว่าราย


          อรุษ บอกว่า การผลิตอินทรีย์ต้องเริ่มจากการสร้างเครือข่าย สร้างกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มปลูกผัก กลุ่มผลไม้ เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มะเฟือง มะนาว มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น และกลุ่มผลิตปุ๋ย สารชีวภาพกำจัดแมลง โดยให้ผู้นำกลุ่มคอยตรวจสอบกันเอง สำหรับตลาดนั้น รร.รับซื้อเพราะแต่ละเดือน รร.ใช้จ่ายค่าผักและข้าวเดือนละประมาณ 900,000 บาท โดยซื้อข้าว 2.5 ตันต่อเดือน ผลไม้ 4-5 ตัน ผัก 2 ตัน นอกจากนี้ผลผลิตจากเครือข่าย 100 กว่ารายจะไปยังตลาดนัดสุขใจ  ราว 1 ตันต่อเดือน ซึ่งมีเงินหมุนเวียน 2 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งแต่ละวันมีผู้มาจับจ่ายสินค้าเฉลี่ยวันละ 1,000 คน นอกจากนี้ยังจำหน่ายให้กับลูกค้าที่มาจัดอบรมสัมมนาที่ รร.


       /data/content/26515/cms/e_abeilm236789.jpg   แม้ผลิตผลจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์จะมีตลาดรองรับของ รร.แล้ว แต่ในช่วงที่ผลผลิตออกพร้อมกัน อีกช่องทางหนึ่งได้เริ่มไปแล้วคือ ตลาดสุขใจไปสัญจรในอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ตึก SCB เกษตรกรสามารถขายฝรั่งวันเดียวได้ 600 กก. เพราะผู้ซื้อในกรุงเทพฯ มีกำลังซื้อและให้ความสำคัญของสุขภาพ และขณะนี้มีห้างโมเดิร์นเทรด มาติดต่อนำสินค้าจากเกษตรอินทรีย์ไปวางในซูเปอร์มาร์เกตในราคาที่เกษตรกรขายอยู่ในพื้นที่ เช่น ฝรั่งขอซื้อในกก.ละ 40 บาท ขณะที่ผลไม้ที่ใช้สารเคมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อ 20-30 บาท


          ความซื่อสัตย์ต่อการทำเกษตรอินทรีย์นั้นคือกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค กระบวนการสร้างเครือข่ายเกษตรกรคือระบบตรวจสอบกันเอง เช่นเดียวกันตลาดนัดสุขใจจะมีระบบสุ่มตรวจพืชผักที่มาวางจำหน่าย หากพบว่ามีสารเคมีจะมีมาตรการลงโทษกับผู้ขายด้วย


          5 ปีแล้วที่ตลาดสุขใจเบิกบานและเติบโตขึ้นตามลำดับ ในวันที่ 29-30 พ.ย. 57 นี้ (เวลา 09.00-17.00 น.) จะมีการจัดงาน วันสังคมสุขใจ ครั้งที่ 1 ขึ้นโดย รร.สามพรานริเวอร์ไซด์ ร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอ อบต.ยายชา กลุ่มเกษตรกร จ.นครปฐม สสส. สกว.  ภายใต้แนวคิดย้อนสังคมไทย สู่เกษตรอินทรีย์ ชม ชิม ช้อป แชร์ ระดมพืชผักผลไม้ที่ปลูกด้วยอินทรีย์มาจำหน่ายในงานในราคาผู้ผลิต ภายใต้บรรยากาศตลาดน้ำย้อนยุค


          นอกจากนี้ยังมีมุมความรู้เพื่อมาสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอินทรีย์ให้กับผู้เข้าชมงาน อาทิ การปลูกกุหลาบอินทรีย์ ของรร.ที่นำมาแปรรูปเป็นชากุหลาบอุดมไปด้วยวิตามินซี ไอเดียการสร้างบ้านดิน รวมทั้งการถ่ายทอด/data/content/26515/cms/e_bfgjlmosz278.jpgความรู้ในการผลิตปุ๋ยหมัก สารชีวภาพ การปลูกพืชสวนครัวในกระถาง กิจกรรมตรวจเลือดหาสารเคมี


          พร้อมชิมเมนู อาทิ นพเก้าน้ำพริกสูตรเด็ด 9 ชนิด ข้าวหุงหม้อดิน 9 สายพันธุ์ รับประทานกับผักสด ๆ ปลอดสาร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประกวดขวัญใจลูกสาวชาวสวน และอีกไฮไลต์เปิดให้จองข้าวหอมนครชัยศรีอินทรีย์ นาแรกของสวนสามพราน มีจำนวนจำกัดเพียง 500 กก.


          "5 ปีที่แล้วเกษตรกรบอกว่าทำอินทรีย์ไม่มีตลาด แต่เมื่อมาย้อนดูผู้ปลูกอยู่ห่างจากกทม.ขับรถเพียงแค่ชั่วโมงเศษ ช่องทางการสร้างตลาดสุขใจขึ้นมาเพื่อจะให้ผู้บริโภคกับผู้ผลิตได้มาเจอกันโดยตรง" ผู้บริหารรร.สามพรานริเวอร์ไซด์  บอกถึงความตั้งใจทิ้งท้าย


          ผู้สนใจร่วมงานสังคมสุขใจสอบถามเส้นทางได้ที่ 0-3432-2588-93 หรือเว็บไซต์ http://www.sampranmodel.com/


 


 


        ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


        ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code