งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2551″ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกทม.และ 23 จังหวัดทั่วประเทศ
รายงานผลการสำรวจ
เรื่อง
ประเมินผลการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2551“
: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
และใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
สำหรับ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เลขที่ 979/22 ชั้น 34 อาคารเอส. เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 0-2298-0500 โทรสาร 0-2298-0501
เสนอโดย
ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
592/3 ซอยรามคำแหง 24 หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรสายตรง 0-2719-1549-50 โทรสาร 0-2719-1546-48
www.abacpoll.au.edu และ www.anchor.au.edu
ธันวาคม 2551
(สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537)
ความเป็นมา
ในการจัดกิจกรรมรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาได้มีการดำเนินการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากผลสำรวจที่ผ่านมาพบว่ามีคนไทยงดเหล้าตลอด 3 เดือนขึ้นลงสลับกันทุกปีสืบเนื่องจากกลยุทธ์ของตลาดธุรกิจแอลกอฮอล์ที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะในกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ ธุรกิจน้ำเมาได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้เยาวชนหันมาทดลองดื่มมากขึ้น ดังนั้นในปี 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะเน้นการขับเคลื่อนมาตรการการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการเชิญชวนให้คนไทยคิดในเชิงป้องกันปัญหา โดยร่วมใจ บวชใจ หรือสัญญากับตนเองว่าจะงดดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษา รวมทั้งปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม เพื่อทำดีถวายในหลวง ภายใต้ชื่อ “ปฏิญาณตนคนบวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา เพื่อทำความดีถวายในหลวง” และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ลดลงต่อไป
บัดนี้การดำเนินงานโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นมาแล้ว 7 ปี สสส. ต้องการประเมินผลความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาในครั้งนี้ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการรณรงค์ ความคิดเห็น และพฤติกรรมในการงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา โดยมีเครือข่ายนักประเมินผลการรณรงค์ด้านสุขภาพ เข้าร่วมประเมินผลโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาในครั้งนี้ด้วย
ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงขอเสนอผลการวิจัยดำเนินโครงการศึกษาเรื่อง “ประเมินผลการรณรงค์ งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2551 : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์อย่างเคร่งครัด เพื่อดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการรณรงค์งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษาปี 2551
2. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อการรณรงค์งดเหล้าช่วงเข้าพรรษา
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนที่มีต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ประเด็นการสำรวจ
ในการสำรวจกลุ่มประชาชนในครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ความถี่ในการดื่ม พฤติกรรมการงดดื่มในช่วงเข้าพรรษา
2. การรับรู้การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ได้แก่ สื่อที่รับรู้ ความถี่ในการรับรู้ การจดจำข้อความในสื่อประชาสัมพันธ์
3. การตอบสนองต่อการรณรงค์ ได้แก่ ความตระหนักหรือสำนึกในการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบอกต่อเกี่ยวกับโครงการรณรงค์
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรณรงค์ ได้แก่ ความเห็นสนับสนุนการรณรงค์ที่ผ่านมา ความคิดเห็นต่อโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา การกระตุ้นให้ประชาชนลดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลต่อตัวเอง ครอบครัวและต่อชุมชน ประเด็นที่ต้องการให้รณรงค์
5. ความคิดเห็นต่อผลกระทบจากการงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ผลต่อครอบครัว เช่น การออก ผลต่อสังคมเช่น ผลต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ เป็นต้น
6. ค่านิยมที่มีต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การให้ของขวัญเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ หรืองานบุญประเพณีต่างๆ เป็นต้น
กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target Population)
กลุ่มประชากรเป้าหมายในการสำรวจครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศจำนวน 23 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา พัทลุง นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ พิษณุโลก และอุทัยธานี
ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology)
ในการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งมีระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) ในการวัดและประเมินผล กำหนดขนาดของตัวอย่าง การคัดเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และการประมวลผล เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ขนาดตัวอย่าง (Sample Size)
ขนาดของตัวอย่างที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ในโครงการนี้จำนวนทั้งสิ้น 5,978 ตัวอย่าง แจกแจงตามภูมิภาคและจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
1. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 865 ตัวอย่าง แบ่งเป็น
1.1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 554 ตัวอย่าง
1.2 นนทบุรี จำนวน 107 ตัวอย่าง
1.3 ปทุมธานี จำนวน 89 ตัวอย่าง
1.4 สมุทรปราการ จำนวน 115 ตัวอย่าง
2. ภาคกลาง จำนวน 1,181 ตัวอย่าง แบ่งเป็น
2.1 ชลบุรี จำนวน 292 ตัวอย่าง
2.2 ราชบุรี จำนวน 209 ตัวอย่าง
2.3 กาญจนบุรี จำนวน 205 ตัวอย่าง
2.4 สุพรรณบุรี จำนวน 221 ตัวอย่าง
2.5 สมุทรสาคร จำนวน 130 ตัวอย่าง
2.6 ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 124 ตัวอย่าง
3. ภาคเหนือจำนวน 1,116 ตัวอย่าง แบ่งเป็น
3.1 เชียงใหม่ จำนวน 372 ตัวอย่าง
3.2 ลำปาง จำนวน 193 ตัวอย่าง
3.3 นครสวรรค์ จำนวน 247 ตัวอย่าง
3.4 อุทัยธานี จำนวน 87 ตัวอย่าง
3.5 พิษณุโลก จำนวน 217 ตัวอย่าง
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,029 ตัวอย่าง แบ่งเป็น
4.1 นครราชสีมา จำนวน 788 ตัวอย่าง
4.2 ศรีสะเกษ จำนวน 449 ตัวอย่าง
4.3 หนองบัวลำภู จำนวน 167 ตัวอย่าง
4.4 มหาสารคาม จำนวน 308 ตัวอย่าง
4.5 กาฬสินธุ์ จำนวน 317 ตัวอย่าง
5. ภาคใต้ จำนวน 787 ตัวอย่าง แบ่งเป็น
5.1 นครศรีธรรมราช จำนวน 301 ตัวอย่าง
5.2 สงขลา จำนวน 267 ตัวอย่าง
5.3 ชุมพร จำนวน 106 ตัวอย่าง
5.4 พัทลุง จำนวน 113 ตัวอย่าง
การเลือกตัวอย่าง (Sampling Method)
ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) โดยมีกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้เป็นชั้นภูมิหลัก ซึ่งระดับของการเลือกตัวอย่างจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการปกครองดังนี้
กรุงเทพมหานครแบ่งพื้นที่ย่อยออกเป็นกรุงเทพชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ในแต่ละพื้นที่ทำการสุ่มตัวอย่างเขต สถานที่เลือกตั้ง และสมาชิกในครัวเรือน ตามลำดับ
ในแต่ละภูมิภาค ทำการสุ่มตัวอย่างจังหวัด ตัวอย่างเทศบาล(ในเขตเทศบาล)/อำเภอ(นอกเขตเทศบาล) ตัวอย่างตำบล ตัวอย่างหมู่บ้าน และสมาชิกในครัวเรือนตามลำดับ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ผลการสำรวจ
เนื้อหาที่จะนำเสนอมีอยู่ 7 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตอนที่ 3 การรับรู้สื่อ/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการ “งดเหล้าเข้าพรรษา“
ตอนที่ 4 ความคิดเห็นต่อการงดเหล้าและโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา
ตอนที่ 5 ความคิดเห็นเชิงเศรษฐกิจ
ตอนที่ 6 ความคิดเห็นเชิงค่านิยม
ตอนที่ 7 ความคิดเห็นต่อธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนโยบายที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไปพบว่าร้อยละ 45.4 เป็นชาย ร้อยละ 54.5 ระบุเป็นหญิง และร้อยละ 0.1 ไม่ระบุเพศ ซึ่งร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 15-24 ปี ร้อยละ 44.0 ระบุอายุระหว่าง 25-40 ปี ร้อยละ 33.5 ระบุอายุมากกว่า 40 ปี และร้อยละ 0.3 ไม่ระบุอายุ นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 35.7 ระบุโสด ร้อยละ 55.5 ระบุสมรส ร้อยละ 4.4 ระบุม่าย/หย่า/แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.4 ไม่ระบุสถานภาพ
ตัวอย่างร้อยละ 73.4 สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ขณะที่ร้อยละ 22.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญ