‘ครู..ที่เป็นมากกว่าครู’
ที่มา : แฟนเพจมูลนิธิสยามกัมมาจล
ภาพประกอบจากแฟนเพจมูลนิธิสยามกัมมาจล
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รุ่นที่ 1-9 ปี 2560 ระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2560
“ครูที่เป็นมากกว่าครู” หมายถึง ครูเป็นมากกว่าครู เป็นพ่อแม่ เป็นเจ้าหน้าที่เกษตร เป็นทุกอย่าง ครูที่เป็นพ่อแม่หมายถึงทำมากกว่าการสอน สิ่งที่ทำคือการอาบน้ำ แปรงฟัน ดูแลเรื่องเสื้อผ้า ตัดเล็บ มารยาท
ครูเป็นมากกว่าครู เพราะเราสอนเรื่องวิชาการ จิตวิญญาณ สอนทักษะในการใช้ชีวิต ไม่ได้สอนวิชาการเพียงอย่างใด สิ่งที่ครูสอนคือจิตวิญญาณของเด็กให้เป็นคนดี
ครูที่เป็นมากกว่าครู คือครูสอนให้เด็กมีความรู้ก็จริง แต่เราต้องเรียนรู้เด็กด้วย เรียนรู้พฤติกรรมเด็ก เด็ก 10 คน มีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เด็กได้ค้นพบตนเองได้ ให้เด็กรู้เขาถนัดอะไร ทำให้เขามีโอกาสนำไปสู่เป้าหมายที่เขาต้องการได้ ครูที่เป็นมากกว่าครู ครูคิดนวัตกรรมแก้ไขปัญหาครอบครัวและชุมชนด้วย ไม่ใช่แก้ไขเฉพาะปัญหาของเด็ก ฯลฯ ….เสียงสะท้อนจากครูเจ้าฟ้า
การศึกษาแบบมอนเตสเซอรี่
เช้าวันที่สอง “ครูเจ้าฟ้า” เริ่มเรียนรู้ช่วงเช้าด้วยการฟังบรรยายสรุปงานพัฒนาการศึกษาในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ โดยมีครูเอ-เกิดแก้ว เจริญยิ่ง และครูโทนี่ แฮริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนแบบมอนเตสเชอรี่ มาพัฒนาการศึกษาที่ดอยตุงมาเป็นระยะเวลา 14 ปี จากครูสอนที่อังกฤษมีแรงบันดาลใจที่จะมาเปลี่ยนแปลงการศึกษาบนดอยตุง เมื่อถูกเชิญให้มาเยี่ยมโรงเรียนบนเขาพบว่าโรงเรียนมีความยากจนจึงอยู่เมืองไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนบนดอยตุง
การศึกษาแบบมอสเตสเซอรี่ คือโรงเรียนที่เหมือนบ้านที่อบอุ่น เด็กอยู่แล้วรู้สึกดี อบอุ่น และปลอดภัย ผู้ก่อตั้งคือหมอ Maria Montessori ชาวอิตาเลียน ก่อนไปชมการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ ณ โรงเรียนบ้านขาแหย่งพัฒนา และการเรียนการสอนแบบสายอาชีพ ณ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี
กาแฟหนึ่งแก้วสร้างคน
คณะครูเจ้าฟ้าทีมที่สอง ได้ชมการเรียนการสอนแบบสายอาชีพ ณ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี “โจทย์ทำอย่างไรที่ทำให้เด็กมีอาชีพ” นี่คือจุดเริ่มต้นของการผลิตนักเรียนวิชาชีพ โรงเรียนเป็นโรงเรียนระดับอนุบาล-มัธยมปลาย อนุบาลใช้การเรียนแบบมอนเตสเซอรี่ ประถม-ม.3 สอนแบบบูรณาการ ม.ปลาย สอนแบบวิชาชีพ เพราะเด็กที่นี่ไม่เรียนต่อมีจำนวนมาก เมื่อจบจะได้วุฒิม.6 และปวช.
เน้นสร้างคุณลักษณะนิสัยควบคู่กับวิชาการ วิชาชีพ สร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ฝ่าฟันความคิดชุมชน ครูในการจัดสายอาชีพ
ครูเจ้าฟ้าฯ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการเรียนการสอน ณ โรงเรียนบ้านขาแหย่งพัฒนา
โรงเรียนขาแหย่ง เป็นโรงเรียนหนึ่งที่นำแนวทางการเรียนการสอนแบบ "มอนเตสเซอรี่" มาใช้ในการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่หมู่ 5 บ้านขาแหย่งพัฒนา ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยยึดหลักที่ว่า"เด็ก" เป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอน "เด็ก" สามารถคิดและสร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ "ครู" เปลี่ยนบทบาทการเป็นผู้สอน สู่การเป็นผู้แนะแนวทาง สร้างความกระหายการเรียนรู้ให้เด็กและเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเอง