ขอเชิญเข้าร่วมประกวดโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ “พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ เขตภาษีเจริญ”
หลักเกณฑ์การประกวดโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
“พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ เขตภาษีเจริญ”
ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขอเชิญชวนผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบโมเดลสิ่งประดิษฐ์ด้วยการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานกับนวัตกรรมการออกแบบ เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเมืองมีอาหารที่ปลอดภัย สามารถดำเนินกิจกรรมการออกกาลังกาย/กิจกรรมทางกาย และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี/การปรับภูมิทัศน์ ภายใต้ข้อจำกัดเชิงพื้นที่ของคนในเมืองหลวง โดยการออกแบบเครื่องมือดังกล่าว ให้ยึดหลักการ 4 ป. คือ ประยุกต์ ประหยัด ประโยชน์ และประสิทธิภาพ ในหัวข้อ “โครงการประกวดโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ เขตภาษีเจริญ” ผู้สนใจสามารถ Download ใบสมัคร หลักเกณฑ์ กติกาและเงื่อนไขการส่งผลงานทุกประเภทได้ที่ www.rcfcd.com
กติกาการร่วมกิจกรรม
1. ประเภทการประกวดโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์มี 3 ด้าน (ด้านใดด้านหนึ่ง แล้วแต่ความสมัครใจของผู้ประกวด) ได้แก่
1.1 สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเสริมให้มีอาหารบริโภคที่ปลอดภัย
1.2 สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการออกกาลังกาย/กิจกรรมทางกาย
1.3 สิ่งประดิษฐ์เพื่อการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี/การปรับภูมิทัศน์
2. โมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ 4 ป. ได้แก่ ประยุกต์ ประหยัด ประโยชน์ และประสิทธิภาพ
3. ส่งผลงานรอบแรกในรูปแบบภาพวาด ภาพเสก็ตช์ หรือภาพที่ออกแบบโดยคอมพิวเตอร์ ได้ไม่เกิน 3 ชิ้นงาน โดยผลงานการออกแบบที่ผ่านการพิจารณาจะต้องเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยสร้างเสริมพื้นที่สุขภาวะ (พื้นที่ไม่ใช่ข้อจากัดในการใช้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว) พร้อมระบุรายละเอียดของผลงานที่จะส่งเข้าประกวดตามที่กาหนดไว้ในแบบฟอร์มใบสมัครให้ครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลงาน ประเภท วัสดุ อุปกรณ์ที่นามาใช้ประยุกต์ วิธีการผลิต การใช้ประโยชน์ งบประมาณ ฯลฯ คณะกรรมการจะคัดเลือกโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าเกณฑ์ จานวน 20 ชิ้นงาน
4. โมเดลที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับงบประมาณเพื่อผลิตเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่สามารถใช้งาน ได้จริง (ภายใต้เกณฑ์ ประยุกต์ ประหยัด ประโยชน์ และประสิทธิภาพ)
5. ผู้ที่ได้รับงบประมาณ จะพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต้นแบบที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อส่งประกวด ในรอบที่ 2 เพื่อชิงรางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณ ดังนี้
รางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 3 ด้าน |
จำนวนเงิน |
เงื่อนไขของ |
รางวัลที่ 1 | 30,000 บาท | ทุกผลงานจะได้รับ ใบประกาศนียบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติ |
รางวัลที่ 2 | 20,000 บาท | |
รางวัลที่ 3 | 10,000 บาท | |
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ | 5,000 บาท |
6. เกณฑ์การตัดสินผลงานที่ผ่านเข้ารอบ
หัวข้อพิจารณา | ประเด็นพิจารณา | คะแนน |
1. แนวคิดของโมเดลสิ่งประดิษฐ์ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และนาวัสดุหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วมาผสมผสาน สอดคล้องกับหลัก 4 ป. คือ ประยุกต์ ประหยัด ประโยชน์ และประสิทธิภาพ | เป็นการสร้างสรรค์โมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 3 ด้าน คือ อาหาร การออกกาลังกาย และการปรับภูมิทัศน์ | 40 |
2. วิธีการนาเสนอ ที่เข้าใจง่าย เข้าถึงทุกคน/ประชาชนทั่วไป | นำเสนอโมเดลนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่สามารถเห็นภาพได้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน | 20 |
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ | การคิดแบบริเริ่ม การคิดนอกกรอบ และการคิดทางบวก ที่ทาให้โมเดลผลงานมีความแปลกใหม่และสร้างสรรค์ | 20 |
4. เทคนิคและคุณภาพสิ่งประดิษฐ์ | เทคนิคและคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์ที่จะสร้างขึ้นตามโมเดลที่ออกแบบไว้ ต้องมีความแข็งแรง ทนทานและมีประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง | 10 |
5. ความพึงพอใจของคณะกรรมการตัดสิน |
ยึดตามจานวนเสียงข้างมากของคณะกรรมการตัดสินเป็นสาคัญ โดยยึดหลักเกณฑ์ 4 ป. โดยแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับดังนี้ คือ 1. ชอบมากที่สุด 2. ชอบมาก 3. ชอบปานกลาง 4. เฉยๆ 5. ไม่ชอบ |
10 |
รวม | 100 |
7. ผู้สนใจสามารถ Download ใบสมัคร หลักเกณฑ์ กติกาและเงื่อนไข ได้ที่ www.rcfcd.com และส่งผลงานได้ถึง
วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 สอบถามรายละเอียดที่ โทรศัพท์ 0-2867-8019
8. ประกาศผลการตัดสิน วันที่ 12 สิงหาคม 2557
9. คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ไม่อนุญาตให้มีการทักท้วงใดๆ ทั้งสิ้น
หมายเหตุ :
1) ทุกท่านที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จะได้รับเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ “จิตอาสาพัฒนาภาษีเจริญ”
2) ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม และกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). ขอสงวนสิทธิ์ในการนาผลงานที่ส่งเข้าประกวด ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อประโยชน์ของชุมชน ทั้งนี้ จะแจ้ง รายละเอียดการนาไปใช้ต่อเจ้าของผลงานทุกชิ้น
ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.)