กินผักผลไม้ปลอดภัยให้เพียงพอลดเสี่ยงโรค NCDs

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 


กินผักผลไม้ปลอดภัยให้เพียงพอลดเสี่ยงโรค NCDs thaihealth


แฟ้มภาพ


ด้วยองค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กำหนดเกณฑ์การบริโภคผักผลไม้ปริมาณที่เพ๋ยงพอของประชาชนอยู่ที่ 400 กรัมต่อวัน เพึ่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น น้ำหนักเกิน โรคมะเร็งและหลอดเลือด


ซึ่งเป็นการลดภาระการรักษาพยาบาลของประเทศ การประชุมทางวิชาการและนิทรรศการ "กินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม เพื่อสุขภาพ" เพึ่อเสนอ ความรู้ทางวิชาการ ทั้งด้านการผลิต ความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการ ให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ ในการบริโภคผักผลไม้เพื่อสุขภาวะที่ดี


กินผักผลไม้ปลอดภัยให้เพียงพอลดเสี่ยงโรค NCDs thaihealth


พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ปี 2560 เป็น "ปีแห่งการบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัย" และ ให้นโยบายเพื่อบรรลุตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ทุกโรงพยาบาล ใช้พืชผักผลไม้ ปลอดจากสารเคมี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกร, การจัดการผักผลไม้อย่างปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ ประเด็นเร่งด่วนการจัดการสารเคมีทางการเกษตรที่มีความเสี่ยงสูง และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, National Surveillance Program ให้มีการดำเนินการตามแผนการเฝ้าระวังผักและ ผลไม้ตลอดห่วงโซ่ ปี 2560 และผลักดัน National Risk Assessment Center มีสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) เป็นแกนหลัก


พญ.มยุรา บอกว่า ต้องพัฒนาขีดความสามารถทางห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สด โดยมอบหมายให้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำข้อมูลให้ครบถ้วน,โครงการวิจัยและพัฒนา นครปฐม เมืองผักและผลไม้ปลอดภัยมอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล  และหาวิธีการลดสารเคมีตกค้าง เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้อย่างเหมาะสม


"การแก้ไขปัญหาการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักผลไม้ ของสธ. เป็นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงเกษตรฯ ในการควบคุมและลดปริมาณการใช้สารเคมีจากผู้ผลิตต้นทาง กลางน้ำ รวมถึง ร่วมกับ สสส. ที่ทำงานด้านความปลอดภัยอาหารและโภชนาการอย่างต่อเนื่อง เน้นการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารให้มีประสิทธิภาพครบวงจร ร่วมกันรณรงค์สื่อสารกับประชาชน ให้กินผักผลไม้อย่างปลอดภัย โดยการล้างผัก 3 วิธี คือ 1) ล้างด้วยน้ำไหล 2) ล้างด้วยผงฟู และ 3) ล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อลดปริมาณสารพิษในผักและผลไม้" พญ.มยุรา กล่าว


กินผักผลไม้ปลอดภัยให้เพียงพอลดเสี่ยงโรค NCDs thaihealth


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนที่จะส่งเสริมการเพิ่มการบริโภค ผักและผลไม้อย่างเพียงพอตามข้อแนะนำ, พัฒนาและจัดการองค์ความรู้ ถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ ด้านการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัยสู่ การขยายผลอย่างยั่งยืน, หนุนเสริมและพัฒนาภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพการทำงานด้านวิชาการและนวัตกรรม ,ขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านอาหารสุขภาวะ โดยร่วมกับภาคีเพื่อผลักดันนโยบาย ,ส่งเสริมให้เกิดการขยายต้นแบบของระบบห่วงโซ่อาหารของพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย, ส่งเสริมการปลูก พืชผักของผู้บริโภคในครัวเรือน โรงเรียน และองค์กร และรณรงค์สร้างค่านิยมของการบริโภคผักผลไม้ ที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ ควบคู่ไปกับการสร้างค่านิยมของวิถีชีวิตสุขภาวะ


"จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย จากการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า คนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 74.1 บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนด ข้อแนะนำการบริโภคผักผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400 กรัม/วัน หรือประมาณ 4-6 ทัพพี เพราะการบริโภคผักผลไม้เพียงพอตามที่แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้ซึ่ง สสส.ตั้งเป้าให้ประชาชนบริโภคผักผลไม้ที่มีความปลอดภัย ตามข้อแนะนำ ขององค์การอนามัยโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 50 ในปี 2564 สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศเป็นปีแห่งการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัย" ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว


ศ.เกียรติคุณ พญ.จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิพงษ์ กล่าวว่า สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สสส. กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน จัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ "กินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัมเพื่อสุขภาพ" เพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการ จากการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคผักผลไม้ ทั้งในด้านการผลิต ความปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการ สถานการณ์การกินผักผลไม้ของคนไทย ครอบคลุม ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของผักผลไม้ให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการกินผักผลไม้ อย่างเพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดี


กินผักผลไม้ปลอดภัยให้เพียงพอลดเสี่ยงโรค NCDs thaihealth


ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว่า จากการสำรวจภาวะสุขภาพของคนไทย สถานการณ์การกินผัก ผลไม้ จากพฤติกรรมของการกิน มีงานวิจัยที่ชัดเจนว่า คนไทยยังกินผักผลไม้ยังน้อย ไม่เพียงพอ ทั้งคนชนบทและในเมือง ทั้งที่ อาหารที่ดีกับสุขภาพคือ ผักผลไม้ ดังนั้นพฤติกรรมการกินอาหารสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากกินให้เพียงพอ จะลดความเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ได้ ลดอัตราการตายได้


กินผักผลไม้ปลอดภัยให้เพียงพอลดเสี่ยงโรค NCDs thaihealth


ตัวอย่าง ผลการวิจัยเรื่องผักผลไม้ที่นิยมในคนไทย ของ รศ.ดร. นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การบริโภคผัก ในแต่ละกลุ่มอายุ พบว่าผักที่นิยมบริโภคมากสุด เป็นผักประเภทปรุงรสแต่งกลิ่น คือผักชี ต้นหอม เมื่อตัดผักปรุงรส แต่งกลิ่นออกจากรายการที่บริโภคพบว่าผักที่นิยมบริโภคได้แก่ ผักกาดขาว/เขียว ถั่วฝักยาว แตงกวา กะหล่ำปลี และฟักทอง ซึ่งพบว่าการบริโภคผักผลไม้ของคนไทยยังมีปริมาณน้อยไม่เป็นไปตามข้อแนะนำของการบริโภคอาหารที่ดี ที่ควรบริโภคผักผลไม้ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งต้องหาวิธีในการแก้ไขปัญหาต่อไป

Shares:
QR Code :
QR Code