“กินปลาแล้วสมองดี” มีโอเมก้า 3
ลดคอเลสเตอรอล สาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจ
“กินปลาเยอะๆจะได้ฉลาด” “กินปลาเยอะๆจะได้ไม่โง่” ประโยคบอกเล่าที่ฟังแล้วทุกคนคงต้องรีบพากันไปตลาดเพื่อซื้อปลากิน แต่คงมีอีกหลายคนที่อาจไม่เชื่อว่ากินปลาแล้วจะฉลาดจริงๆ รู้อย่างเดียวว่าปลามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีประโยชน์อย่างไร
เนื้อสีขาวล้วนน่ากินของปลา ที่เราเห็นกันนั้น นั่นคือโปรตีนทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 17 – 23 ซึ่งมันจะย่อยได้ง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบย่อยภายในร่างกายไม่ต้องทำงานหนัก อีกทั้งเนื้อปลายังเป็นเนื้อที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
เนื้อปลา…นอกจากจะมีโปรตีนแล้ว ในโปรตีนยังคงมีสารที่จำเป็นต่อร่างกายอีก นั่นคือ กรดอะมิโนและไขมันจากเนื้อปลาทะเล โดยเฉพาะกรดไขมันประเภทโอเมก้า – 3 ซึ่งมีอยู่ในปริมาณมากในเนื้อปลาทะเล ซึ่งกรดไขมันที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahezaenoic Acid : DHA) และ กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid : EPA)
“โอเมก้า – 3 โอเมก้า –
โอเมก้า – 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย เราไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากกรดไขมันโอเมก้า – 3 ที่มีอยู่ในปลาจะช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอลอันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดอุดตัน ที่นำไปสู่โรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตกได้
นอกจากนี้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดพบว่าการขาด โอเมก้า – 3 อาจเป็นสาเหตุทำให้คนมีอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น และขาดความสามารถในการอ่านหนังสือได้ งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่ากรดไขมันดีเอชเอ (DHA) ในโอเมก้า – 3 มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะในส่วนของความจำและการเรียนรู้
จากงานวิจัยนั้นบ่งบอกได้ว่า การบริโภคปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง จะช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจลงได้ นอกจากนี้ ยังระบุว่าในไขมันปลามีกรดไขมันอีพีเอ (EPA) ซึ่งเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า – 3 ที่ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดและลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยเช่นกัน และการกินปลาที่ไขมันมากจะช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนังได้อีกด้วย เช่น โรคสะเก็ดเงิน (หรือโรคเรื้อนกวาง) เพราะปลามีวิตามินดีจากกรดไขมันโอเมก้า – 3 ในปริมาณมาก
หากจะเลือกสรรปลาที่มีโอเมก้า – 3 สูงนั้น ต้องเป็น “ปลาทะเล” เท่านั้น เพราะอาหารของปลาทะเลนั้น เป็นแพลงตอนและสาหร่ายที่สังเคราะห์ให้โอเมก้า – 3 ได้มากกว่าแพลงตอนและสาหร่ายในน้ำจืด อีกทั้ง กระบวนการเผาผลาญอาหารของปลายังเป็นกระบวนการที่สามารถรักษาคุณค่าของโอเมก้า – 3 ที่ร่างกายผลิตขึ้นมาได้อย่างดีอีกด้วย ปลาทะเลที่มีมันมาก เช่น ปลาแซลมอน, ปลาแมคเคอเรล, ปลาเทราท์, ปลาทูน่า มีไขมันกลุ่มโอเมก้า – 3 สูงถึง 1 –
ส่วนกรดไขมันสำคัญอื่นๆ ที่อยู่ในเนื้อปลานั้น อย่างกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิ(Eicosapentaenoic Acid : EPA) เป็นกรดไขมันที่ไม่สามารถหาได้จากเนื้อสัตว์อื่นๆ กรดไขมันนี้ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสโลหิต จึงช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้ ส่วนกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docasahezaenoic Acid : DHA) เป็นส่วนที่จะพิสูจน์คำกล่าวที่ว่า “กินปลาแล้วสมองดี” กรดไขมันนี้เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมองถึงร้อยละ 65 เป็นสารที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จะได้จากอาหารจำพวกปลา สมองคนเรามีไขมันชนิดนี้เป็นส่วนประกอบอยู่ครึ่งหนึ่งก่อนเกิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นดีเอชเอจึงมีความสำคัญมากต่อสตรีในระยะตั้งครรภ์ และมารดาในระยะให้นมบุตรที่ช่วยให้สมองทารกพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
จากการสำรพบว่าชาวญี่ปุ่นบริโภคปลามากที่สุดในโลก สูงถึง 73 กก./คน/ปี มีอัตราการตายด้วยโรคหัวใจเพียง 100 คน บ่งบอกได้ว่าการบริโภคปลาช่วยให้คนเรานั้นเป็นโรคหัวใจน้อยลง
ฉะนั้น คนไทยอย่างเราๆ ก็ควรหันมาบริโภคปลากันให้มากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ก็ควรหันมาบริโภคเพราะมันมีประโยชน์ต่อสมองและร่างกายของเราจริงๆ
เรียบเรียงโดย : ณัฐภัทร ตุ้มภู่ Team Content www.thaihealth.or.th
ที่มา : วารสารสุขสาระ
Update:15-09-51