การสำรวจความปลอดภัยในการเดินทางทางถนน
ผลการสำรวจจากประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ในปี 2553 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 50.3 ล้านคน ในรอบปีที่ผ่านมามีผู้ที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน จำนวน 48.7 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.9 และมีผู้ที่เคย ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน จานวน 1.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.1 จะเห็นได้ว่า ในแต่ละวันโดยเฉลี่ยแล้วมีประชาชนประสบอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บจากการเดินทางทางถนนถึงวันละ 4,384 คน
จำนวนประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป จำแนกตามประสบการณ์ การประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน
เมื่อพิจารณาถึงเพศของผู้ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน พบว่า เพศชายมีจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน 1.1 ล้านคน หรือ ร้อยละ 69.7 ส่วนเพศหญิงมีผู้ประสบอุบัติเหตุ 5 แสนคน หรือร้อยละ 30.3 โดยเพศชายเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างมากกว่าเพศหญิงเกือบ 3 เท่าตัว
จากการสำรวจแต่ละกลุ่มอายุ พบว่า ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 18 – 24 ปี จะเป็นกลุ่มอายุที่มีสัดส่วนของผู้ประสบอุบัติเหตุมากที่สุด คือ ร้อยละ 4.9 (หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 18 – 24 ปี 100 คน มีผู้ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน 4.9 คน) รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 25 – 34 ปี ร้อยละ 3.6 กลุ่มอายุ 35 – 34 ปี ร้อยละ 3.1 กลุ่มอายุ 45 – 54 ปี ร้อยละ 2.7 และกลุ่มอายุ 55 – 59 ปี ร้อยละ 2.5 ส่วนกลุ่มอายที่มีสัดส่วนของผู้ประสบอุบัติเหตุน้อยที่สุดเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.4 จากข้อมลกลุ่มผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานที่เป็นกาลังหลักของทั้งครอบครัวและประเทศเป็นกลุ่มผู้ที่เกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูง ซึ่งทําให้ประเทศเกิดความสูญเสียทรัพยากรของชาติ
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคที่มีสัดส่วนของผู้ประสบอุบัติเหตุ และได้รับบาดเจ็บมากที่สุดเป็นประชากรที่อยู่ในภาคกลาง คือ ร้อยละ 3.8 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 3.4 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 3.2 ภาคใต้ ร้อยละ 3.1 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุน้อยที่สุด ร้อยละ 2.3
สำหรับกลุ่มอาชีพของผู้ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบเป็นกลุ่ม อาชีพที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุมากที่สุด คือ ร้อยละ 6.3 รองลงมาเป็นอาชีพขั้น พื้นฐานต่าง ๆ ในด้านการขายและการให้บริการ ร้อยละ 4.1 ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่าง ๆ และที่เกี่ยวข้อง และผู้ปฏิบัติงานด้าน ความสามารถทางฝีมือและธุรกิจการค้าเท่ากัน ร้อยละ 3.8 ส่วนอาชีพที่ ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนนน้อยที่สุดคืออาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มี ฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง ร้อยละ 2.4
สำหรับพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์มากที่สุด ร้อยละ 74.2 รองลงมาเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 18.3 รถบรรทุก ร้อยละ 2.5 รถโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 1.8 และพาหนะอื่นๆ อีกร้อยละ 3.2 ตามลําดับ
กลุ่มที่ 3 ผู้ได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเกิน 3 วัน ร้อยละ 16.8
กลุ่มที่ 4 ได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลไม่เกิน 3 วัน ร้อยละ 9.8
ส่วนกลุ่มที่ 5 เป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล และต้องสูญเสียอวัยวะ ร้อยละ 0.9
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ประสบอุบัติเหตุถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ประชาชนให้ความเห็นว่าสาเหตุหลักเกิดจากผู้ขับขี่ขาดวินัยจากการขับขี่ทางจารจรมากที่สุด ร้อยละ 31.8 รองลงมาเกิดจากถนนขรุขระ แสงสว่างไม่พอ ทางคดเคี้ยว ร้อยละ 25.3 เมาแล้วขับ ร้อยละ 11.4 สภาพอากาศ/ทัศนวิสัยไม่ดีร้อยละ 6.4 สภาพพาหนะไม่พร้อม ร้อยละ 5.2 ผู้ขับขี่ไม่มีความรู้ในการขับขี่ที่ ถูกต้อง ร้อยละ 4.6 และที่เหลือเป็นสาเหตุอื่น ๆ
ส่วนความรนแรงที่เ่กิดจากการเกิดอุบัติเหตุ จากการสำรวจ พบว่า ในการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนนจะมีจำนวนของผู้ได้รับบาดเจ็บร้อยละ 76.9 และผู้ที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ ร้อยละ 23.1 หากพิจารณาเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อแยกตามความรุนแรงของการประสบอุบัติเหตุ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งต้องรับการรักษาพยาบาลและกลับบ้านได้ ร้อยละ 37.5
กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ไม่ต้องไปรับการรักษาพยาบาล ร้อยละ 35.0
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ