การบำบัดรักษาเมื่อติดเหล้า

การบำบัดผู้มีอาการติดเหล้า


การเลิกสุราถ้าจิตใจเข้มแข็ง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางร่างกาย หรืออาการทางจิต ก็สามารถเลิกได้เองที่บ้าน แต่ถ้าไม่สามารถเลิกได้ ควรเลือกการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านได้ทั่วประเทศ โดยมีรูปแบบต่างๆ ที่เลือกได้ เช่น


การบำบัดรักษาแบบนอนพักที่สถานพยาบาล  หรือผู้ป่วยใน หรือบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ที่สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ใช้เวลาบำบัดรักษา 16 สัปดาห์ (4 เดือน) มีรายละเอียดในกระบวนการบำบัด ดังนี้ เช่น


1. มีการดูแลรักษาพยาบาล และป้องกันโรคแทรกซ้อนอย่างมีคุณภาพ โดยแพทย์ – พยาบาล และทีมสหวิชาชีพ


2. มีกิจกรรมกลุ่มบำบัด เพื่อฝึกทักษะให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ เช่น การรับผิดชอบ ระเบียบวินัยในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว มีการยอมรับและเชื่อมั่นในตนเอง สามารถเผชิญปัญหาและแก้ปัญหาได้ เพื่อกลับไปดำเนินชีวิตแบบสงบสุขได้ตามอรรถภาพ โดยไม่พึ่งพาสุรา


3. การติดตามหลังการบำบัดรักษาเป็นระยะๆ นาน 1 ปี เพื่อช่วยให้คำปรึกษา สนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ


การบำบัดรักษาแบบไม่นอนพักในสถานพยาบาล หรือ ผู้ป่วยนอก (ไป-กลับ) เป็นการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบ กายจิตสังคมบำบัด มีระยะเวลาการบำบัด 16 สัปดาห์ (4เดือน) โดยผู้ติดสุราต้องสมัครใจเข้าบำบัด โดยมีเกณฑ์ดังนี้ เช่น


1. เป็นผู้หยุดการใช้สุราอย่างต่อเนื่องมาแล้ว


2. เป็นผู้ผ่านการบำบัดด้วยยามาแล้ว


3. เป็นผู้ไม่มีอาการทางจิต – ประสาท


ขบวนการบำบัด ประกอบด้วย การให้บริการปรึกษารายบุคคลและครอบครัว มีกิจกรรมกลุ่มบำบัดฝึกทักษะในการเลิกยาระยะต้น ฝึกทักษะป้องกันการติดซ้ำ มีกิจกรรมกลุ่มครอบครัวศึกษา และกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนทางสังคม ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ช่วยเหลือประคับประคองเพื่อให้ผู้ติดสุราเลิกได้สำเร็จ สุดท้ายคือการติดตามดูแลหลังการบำบัดรักษาเป็นเวลา 1 ปี


 


 


 


ที่มา : สถาบันธัญญารักษ์

Shares:
QR Code :
QR Code