‘การตรวจหาแคลเซียมในหลอดเลือด บอกอะไรได้บ้าง’

อาจเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

 ‘การตรวจหาแคลเซียมในหลอดเลือด บอกอะไรได้บ้าง’

          การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มี   ความเร็วและความละเอียดสูง คำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอด  เลือดแดง เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะมีอาการแสดงให้เห็น

 

          จากการศึกษาในประชากรที่ป่วยด้วย โรคหัวใจขาดเลือด เราไม่พบสาเหตุของโรคที่แท้จริง แต่เราพบปัจจัยหลาย ๆ ประการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค หากมีปัจจัยเหล่านี้มาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น

 

          ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจ มีอะไรบ้าง

           ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

           อายุ ชาย อายุเกิน 45 ปี หญิง อายุเกิน 50 ปี

           หญิงหมดประจำเดือน

           ความดันโลหิตสูง

           – สูบบุหรี่

           – ไขมันในเส้นเลือดผิดปกติ คอเลส  เตอรอล (cholesterol) (ปกติ < 200 มก./ดล.)

           – ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) (ปกติ < 150 มก./ดล.)

           – แอล ดี แอล (ldl-c) สูง ควร <130 มก./ดล.

           – เอช ดี แอล (hdl-c) ต่ำ ควร >40 มก./ดล.

           – เบาหวาน

           – การไม่ออกกำลังกาย / อ้วน / เครียด

 

ควรปฏิบัติอย่างไรหลังได้รับการตรวจแล้ว

 

ผลการตรวจ calcium-score ได้ค่าระหว่าง 0-400 : มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ ปานกลางควรปฏิบัติดังนี้

 

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่

 

   ควบคุมปริมาณไขมันที่บริโภค โดยวิธีการดังต่อไปนี้

 

          – กินอาหารที่มีพลังงานต่ำเช่น กินอาหารที่มีกากใยสูง (ผัก ผลไม้) และจำกัดอาหารที่มีไขมันสูง

 

          – หลีกเลี่ยงอาหารหรืองดอาหารไขมันอิ่มตัวสูง ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลในอาหารได้แก่

เครื่องในสัตว์ทุกชนิดและตับ เช่น ตับอ่อน หัวใจ กึ๋น ปอด ไส้ตัน และกระเพาะ ไข่ปลาทุกชนิด ไข่แมงดา ไข่ปู ไข่เต่า ไข่นกกระทา หอยทุกชนิด กุ้งทุกชนิด ปลาหมึกและปู น้ำสลัดชนิดครีม

มายองเนส เนย เหลว ครีม มาการีนแข็ง เนื้อหมู เนื้อวัวเลาะเอามันออกให้หมดกินวันละไม่เกิน

 

2 อย่าง กินไข่ทั้งฟองไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์

 

          ใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันข้าวโพด โดยไม่ใช้น้ำมันหมู

 

          จำกัดอาหารที่มีส่วนประกอบของนมครบส่วน เนยและไข่

 

          ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม นึ่ง ตุ๋น อบ ปิ้ง ย่าง แทนการใช้น้ำมัน

 

ลดอาหารที่มีกะทิ และอาหารทอดทุกชนิดทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เช่น หมูทอด ไก่ทอด    

   แกงเทโพ แกงเขียวหวานไก่ เป็นต้น

 

กินธัญพืชประเภทไม่ขัดสี เพื่อเพิ่มเส้นใยอาหารเช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต กิน

  ข้าวมื้อละไม่เกิน 2 ทัพพี

 

จำกัดการกินขนมหวานเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์โดยเฉพาะที่มีไขมันไข่เป็นส่วนประกอบและไม่

  เติมน้ำตาลในอาหาร

 

          จำกัดการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

 

          – ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที / ครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

 

          – พยายามทำใจให้รื่นเริงไม่เคร่งเครียด หงุดหงิด

 

2. ปรึกษาแพทย์ในรายที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันสูงผิดปกติ หรือเป็นเบาหวาน

 

3. ตรวจประเมินหลอดเลือดหัวใจด้วยการเดินสายพาน อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

 

4. กรณีมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร่วมด้วยควรพบแพทย์อายุรกรรม หัวใจเพื่อรับคำปรึกษา

         

          ผลการตรวจ calcium-score ได้ค่าตั้งแต่ 400 ขึ้นไป : อาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแอบแฝงอยู่ แต่ยังไม่แสดงอาการควรปฏิบัติดังนี้.         

 

1.ปฏิบัติตัวตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรกระทำ.     

   

2.ควรพบแพทย์อายุรกรรมหัวใจเพื่อตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด ด้วยการฉีดสีเพื่อวินิจฉัยเพิ่ม หรือ เพื่อรับการรักษา

 

3.ทราบอาการผิดปกติที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง   รวดเร็ว

 

          อาการผิดปกติที่ควรสังเกต

 

         – เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปแขน กรามหรือคาง

 

          เจ็บหน้าอกจนเหงื่อแตกหมดแรง

 

          เจ็บหน้าอกแล้วหายใจไม่สะดวก

 

          เหนื่อยจนจุกแน่นที่ลิ้นปี่

 

          เวียนศีรษะ มึนงง เหมือนเป็นลม / ใจสั่น

 

          อาการผิดปกติดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกว่า หลอดเลือดหัวใจตีบอันเป็นเหตุให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ควรมาพบแพทย์โดยเร็ว และได้รับการรักษา อย่างถูกต้องจะช่วยลดการให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายลดลงได้

 

         

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 

 

update 13-10-51

 

 

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code