กลิ่นเหม็นม่านพีวีซีใหม่กั้นอาบน้ำมีสารพิษ
ชี้ปล่อยสารพัดสารเคมีอันตรายต่อตับ ระบบประสาท หายใจ และสืบพันธุ์
หนังสือพิมพ์เดอะลอสเอนเจลีสไทม์สฉบับออนไลน์รายงานผลการวิจัยที่ทำโดยองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมระดับชาติซึ่งพบว่าผ้าม่านพลาสติกกั้นอาบน้ำในห้องน้ำที่ใหม่และมีกลิ่นเหม็นนั้นแท้จริงแล้วปล่อยสารเคมีอันตรายออกมาในปริมาณที่สูง
โดยผลการวิจัยระบุว่าผ้าม่านพลาสติกที่มีขายและใช้กันอยู่โดยทั่วไปปล่อยสารเคมีหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง ทั้งอันตรายต่อตับ ประสาทส่วนกลาง ระบบหายใจ และระบบสืบพันธุ์
ทั้งนี้การวิจัยนี้ทำขึ้นมาโดยศูนย์เพื่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และยุติธรรม ซึ่งเป็นองค์ที่ตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มทำมาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วเพื่อศึกษาดูว่าอะไรเป็นตัวก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นจากผ้าม่านกั้นอาบน้ำพลาสติก
“กลิ่นเหม็นแบบนี้อาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ปวดหัว หรือคลื่นไส้ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ “คุณไมเคิล เชด ซึ่งเป็นผู้รายงานผลการวิจัยร่วมของการวิจัยนี้กล่าว
ทีมนักวิจัยได้ทำการทดสอบหาส่วนประกอบทางเคมีของผ้าม่านพลาสติกพีวีซี จำนวน 5 แบบ ที่มีขายทั่วไปตามห้าง อาทิ ห้าง เบด บาธ แอนด์ บียอนด์ ห้างเคมาร์ท ห้างเซียร์ส และห้างทาร์เกตและวอลมาร์ท โดยเป็นการทดสอบสารเคมีที่ถูกปล่อยออกมาทางอากาศกับกลิ่นของผ้าม่านพีวีซีเหล่านั้น
ผลการทดสอบพบว่าผ้าม่านกั้นอาบน้ำพีวีซีเหล่านั้นมีสาร phthalates ในระดับความเข้มข้นสูง ซึ่งสารเคมีนี้มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อความสามารถในการสืบพันธุ์ของคน นอกจากนี้ยังพบว่าสาร organotins ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
อีกทั้ง 1 ในผ้าม่านพลาสติกที่ทดสอบพบว่าปล่อยสารประกอบออกมามากถึง 108 ชนิดและสารประกอบเหล่านี้จะคงอยู่นานเกือบ ๆ เดือน สารประกอบ 7 อย่างในบรรดาสารที่ตรวจเจอนี้ได้แก่ สาร toluene สาร ethylbenzene สารphenol สารmethyl สารisobutyl สารketone สารxylene สารacetophenone และสารcumene
คุณ
ทั้งนี้ผลการวิจัยนี้ระบุว่าอันตรายที่อาจเกิดจากสารเคมีเหล่านี้อาจได้แก่ อันตรายต่อตับ ประสาทส่วนกลาง ระบบทางเดินหายใจ และระบบสืบพันธุ์ ส่วนสาร phthalates และสาร organotins นั้นแม้จะเป็นสารเคมีที่ไม่สารที่ใช้เพื่อทำผ้าม่านพลาสติกโดยตรงแต่มักถูกเติมเข้าไปเพื่อทำให้ม่านมีความนุ่มและแข็งแรงขึ้น
ที่มา : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
update 18-06-51