กลยุทธ์บริษัทบุหรี่ล่อใจโจ๋ โฆษณาแฝงกระตุ้นลองสูบ

ผลวิจัยชี้กลยุทธ์บริษัทบุหรี่ล่อใจโจ๋ โฆษณาแฝงกระตุ้นลองสูบ

น.ส.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผอ.ศูนย์การวิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งของเหตุผลที่เยาวชนสูบบุหรี่ คือ การถูกกระตุ้นผ่านรูปลักษณ์ของซองบุหรี่และสื่อบุคคลทำให้เกิดความอยากลอง และต้องการให้กลุ่มเพื่อนยอมรับ จึงจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด เช่น จำกัดสีบนซองบุหรี่ และขยายพื้นที่ภาพคำเตือน ปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งภาคีสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวควรสร้างกิจกรรมให้เด็กป้องกันตก เป็นนักสูบหน้าใหม่ได้

ผศ.ดร.วลัย วัฒนะศิริ นักวิชาการคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงผลการศึกษาเรื่องการสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการยาสูบในประเทศไทยและต่างประเทศ ปี 2555 สนับสนุนโดยศูนย์การวิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และ สสส. ว่าจากการวิจัยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของบริษัทบุหรี่รวมทั้งพฤติกรรมการรับรู้ของเยาวชนเกี่ยวกับตราสินค้า โดยวิจัยกลุ่มตัวอย่างในเขต กทม. อายุ 15-24 ปี เมื่อวิเคราะห์กลยุทธ์และเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดของบริษัทบุหรี่พบว่า มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจ

“บริษัทบุหรี่ต่างประเทศจะใช้กลยุทธ์มาตรฐานคือ การสื่อสารจะเป็นแบบแผนเดียวกัน ทั้งบรรจุภัณฑ์ ชื่อตราสินค้า ลักษณะเด่นต่างๆ ส่วนอุตสาหกรรมบุหรี่ในประเทศจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามท้องถิ่น ที่พบเหมือนกัน คือ การสร้างบทบาทการรับผิดชอบต่อสังคม (csr) โดยแฝงการทำให้เกิดความยอมรับ ความเข้าใจ และการโฆษณาแฝงต่างๆ กระตุ้นให้รับรู้ตราสินค้า อยากลอง เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามโฆษณาบุหรี่ พบว่าเยาวชนมีพฤติกรรมรับรู้สอดคล้องกับกลยุทธ์บริษัทบุหรี่ ทั้งเรื่องตราสินค้า สีสัญลักษณ์อย่างชัดเจน” ผศ.ดร.วลัยกล่าว

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Shares:
QR Code :
QR Code